Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/266
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับการขยายอายุเกษียณการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ : กรณีศึกษาบริษัทแพรนด้าจิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Relationship between Motivation in Work to Extending the Age for Retirement Work of Production Staff in the Gem and Jewelry : A Case Study of Pranda Jewelry Public Company Limited
Authors: ชุติระ ระบอบ
Chutira Rabob
ณปภัช เชื้อเงิน
Napaphat Chuengoen
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: บริษัท แพรนด้าจิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)
Age and employment
Older people -- Employment
ผู้สูงอายุ -- การจ้างงาน
การเกษียณอายุ
อายุกับการจ้างงาน
ความพอใจในการทำงาน
Job satisfaction
Retirement
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจการทำงานกับการขยายอายุเกษียณการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ศึกษาความสัมพันธ์แรงจูงใจกับการขยายอายุเกษียณทำงาน สำรวจทัศนคติผู้บริหารและหัวหน้างาน และพนักงานที่ใกล้เกษียณอายุที่มีการขยายอายุเกษียณทำงาน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยตามสูตรการคำนวณของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) จำนวนพนักงาน 164 คน ใช้แบบสอบถามปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยอนามัย และด้านปัจจัยจูงใจ โดยแบ่งระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงผู้บริหารระดับหัวหน้างาน และพนักงานรวม 8 คน ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจที่เป็นปัจจัยส่วนบุคคล คือ ต้องการมีรายได้อย่างต่อเนื่อง และมีความเห็นว่าตนเองมีสุขภาพดีแข็งแรงที่จะทำงานต่อไปได้ และมีภาระหนี้สินทำให้มีความจำเป็นต้องขยายอายุเกษียณการทำงาน สำหรับด้านปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน คือ การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลในองค์กร รองลงมา คือด้านสภาพการจ้างงาน ค่าตอบแทน และสวัสดิการด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านผลป้อนกลับของาน ด้านโอกาสในการทำงาน และด้านหลักประกันที่ดีความสัมพันธ์โดยรวมต่อพนักงานเป็นแรงจูงใจในการขยายอายุเกษียณทำงาน
The purpose of this research were to study the motivation to work on extending the retirement age to work. By personal factors study of the relationship incentive to extend the retirement age to work. Survey administration and supervisors and employees near retirement to extend the retirement age to work. The sample size used in this study based on the formula of Krejcie and Morgan the sample used in this study were of employees 164 people query the motivation of the employees at the production of jewelry two aspects health factors. And the motivation factors the opinions were divided into 5 levels, the statistics used for data analysis were percentafe, mean, standard deviation. And One Way Analysis of Variance (One-Way ANOVA) and interviews with senior executives. Chief executive and employs 8 people. The resutls revealed that the motivation factors to extended work was to have continued. And have no idea what their healthy strength to continue working. The debt burden there is a need to extend the retriement age to work for the incentive to work is to have good relations between people in an organization, followed by the conditions of employment, remuneration and benefits for the environment. Work the nature of the practice the feedback works the career opportunities and secured good is associated with the decision to extend the retirement age to work.
Description: วิทยานิพนธ์ (กจ.ม) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/266
Appears in Collections:Business Administration - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NAPAPHAT-CHUEANGOEN.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.