Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2681
Title: | รูปแบบและความเชื่อการสักยันต์ไทยของกลุ่มชาวจีนในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน |
Other Titles: | Patterns and Beliefs of Thai talisman paintings among Chinese people in Thailand and People's Republic of China |
Authors: | ธีรโชติ เกิดแก้ว Liu Qin Teerachoot Kerdkaew Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts. Student of Master of Liberal Arts. Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | การสัก --ไทย Tattooing -- Thailand ชาวจีน -- ไทย Chinese -- Thailand ความเชื่อ Belief and doubt ชาวจีน Chinese ยันต์ Yanta Talismans |
Issue Date: | 2021 |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสักยันต์ไทยและวิเคราะห์ความเชื่อ เรื่องการสักยันต์ไทยของกลุ่มชาวจีนในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการสักยันต์มีทั้งการสักหมึกจีนและการสักน้ำมัน รูปแบบยันต์ที่สัก พบ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น รูปพระ รูปแบบอักขระและยันต์ต่าง ๆ เช่น ยันต์อักขระ เป็นแถว และรูปแบบผสมผสาน เช่น รูปแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานกับอักขระเลขยันต์และ
รูปลักษณ์ต่าง ๆ สีที่นิยมสัก คือ สีดำตามคติการสักแบบไทย และสีแดงตามความเชื่อว่าเป็นสิริมงคล
ของชาวจีนเอง ส่วนความเชื่อการสักยันต์ไทยพบ 5 ด้าน คือ โชคลาภ เมตตามหานิยม ป้องกันภัย
สุขภาพ และอำนาจของยันต์เชิงลบ ปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อเปลี่ยนแปลง มี 2 ประการ คือ ปัจจัย
ภายใน เช่น ความคิด การศึกษา การไม่ประสบผลตามที่คาดหวังจากการสักยันต์ และปัจจัย
ภายนอก เช่น แรงกดดันจากครอบครัว คนในสังคม กฎกติกาทางสังคม ค่าใช้จ่ายในการสักยันต์ที่สูง
และโรคระบาดหรือโรคติดต่อ ผลที่ตามมาจากการสักยันต์พบ 2 ประการ ได้แก่ ผลเชิงบวก คือช่วย
สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ช่วยสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรมไทย และส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย และผลเชิงลบเกิดจากผู้ประกอบธุรกิจการสักยันต์
ไทยต้องการลดต้นทุน จึงใช้ช่างสักที่ไม่มีคุณสมบัติมาสัก ส่งผลให้ชาวจีนบางส่วนคลายความเชื่อ
และมองการสักยันต์ไทยในภาพลบ This research aimed to study patterns of Thai talisman paintings and an analysis of beliefs about Thai talisman paintings of Chinese people in Thailand and China. This research was a qualitative research that examines data from documents, in-depth interview and presented the research results by descriptive and analytical methods. The results showed that the methods of talisman paintings include Chinese ink tattoo and oil tattoo. There are three types of tattooed talisman patterns: Sacred forms such as Buddha images, Character patterns and ciphers talisman such as row ciphers talisman and a combination of talisman paintings, such as sacred patterns combined with various characters and appearances. The most popular color for tattooing was black according to Thai tattoo traditions and red according to the belief that it was the fortune of the Chinese themselves. As for the belief in Thai talisman paintings found five aspects namely: fortune, mercy, protection, health, and the power of negative talisman. There were two factors that change beliefs: Internal factors such as thoughts, education, failure to achieve the expected results from talisman patterns and external factors such as family pressures, people in society, social rules, the cost of talisman paintings were high and epidemic or contagious disease. The consequences of talisman paintings were found in two things: The positive effect was that it helps generate income for many operators and related parties. Help inherit and disseminate Thai culture and promote tourism in Thailand. Negative results are caused by Thai talisman paintings business operators wanting to reduce costs. Therefore, recruiting a tattoo artist who was not qualified to Thai talisman paintings. This caused some Chinese people to loosen their beliefs and look at Thai talisman paintings in a negative image. |
Description: | รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ โครงการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวัฒนธรรม 4 สถาบันการศึกษา หัวข้อ "ภาษาและวัฒนธรรมไทยในวิถีโลกใหม่" ครั้งที่ 3 (Proceeding Report of Thai Language and Culture Network 3th)) วันที่ 16 ธันวาคม 2564 : หน้า 373-392. สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่: http://www.hurujournal.ru.ac.th/journals/30_1656649209.pdf บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “รูปแบบและความเชื่อการสักยันต์ไทยของกลุ่มชาวจีนในประเทศไทยและสาธารณรัฐ ประชาชนจีน” หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สามารถเข้าถึงวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มได้ที่ https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/760 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2681 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Proceeding Document |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patterns-and-Beliefs-of-Thai-talisman-paintings .pdf | 99.23 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.