Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/281
Title: รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดร้อยปีบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Sustainable Cultural Tourism Management Model : A Case Study of Cultural Tourism Destination "Banmai One-Hundred Years Market" in Chachoengsao Province.
Authors: ลั่นทม จอนจวบทรง
Lanthom Jonjuabtong
ศิริรักษ์ บุญพร้อมรักษา
Sirirak Boonpromraksa
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การท่องเที่ยว -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย
ฉะเชิงเทรา -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ตลาดร้อยปีบ้านใหม่ (ฉะเชิงเทรา)
Travel -- Thailand -- Chachoengsao
Heritage tourism
ฉะเชิงเทรา -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ตลาดร้อยปีบ้านใหม่ (ฉะเชิงเทรา)
Issue Date: 2013
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดร้อยปีบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดร้อยปีบ้านใหม่ ศึกษาลักษณะการบริหารตลาดร้อยปีบ้านใหม่ในปัจจุบัน และศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวตลาดร้อยปีบ้านใหม่ การศึกษานี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมายังตลาดร้อยปีบ้านใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้การสัมภาษณ์ (Interview) กับคณะกรรมการบริหาร และตัวแทนชาวชุมชนตลาดร้อยปีบ้านใหม่ จำนวน 14 ตัวอย่าง ผลการศึกษาทางด้านลักษณะพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีอายุ 21-30 ปี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้ไม่เกิน 7,000 บาท เหตุผลในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการท่องเที่ยว/พักผ่อน จับจ่ายซื้อสินค้าทางวัฒนธรรม ศึกษาวิถีชีวิตของชาวชุมชน และเที่ยวชมแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม เป็นต้น สำหรับการบริหารจัดการท่องเที่ยวด้านการบริหารจัดการของชุมชนท้องถิ่น พบว่า ชาวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถบริหารจัดการด้วยตัวเองอันเกิดความยั่งยืน ด้านการประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยว พบว่า ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหน่วยงานเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสื่อมวลชนภายนอก ด้านการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยว พบว่า การจัดการด้านการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในรูปขององค์กรการเงินชุมชน ด้านการจัดการทางบุคคล ได้มีการจัดฝึกอบรม จัดคณะบุคคลศึกษาดูงานภายนอกเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว และด้านความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่าการจัดเตรียมด้านผลประโยชน์ให้กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกๆ ฝ่าย มีความสำคัญต่อการรักษาความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อพันธมิตรทางธุรกิจ สำหรับด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า ภาครัฐ เอกชน และชาวชุมชนเกิดความริเริ่มในการบริหารจัดการมูลฝอยด้วยตัวเอง ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจต่อการหารูปแบบในการจัดการท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง แต่ทั้งนี้ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้้นฐานยังต้องมีการพัฒนาเป็นอย่างมากในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว สำหรับข้อเสนอแนะรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธณรมอย่างยั่งยืนพบว่า องค์กรผู้ดูแลรับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยว ควรสนับสนุนส่งเสริมให้ชาวชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามา มีส่วนร่่วมในการจัดการท่องเที่ยวในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการสินค้าทางวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยวในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการสินค้าทางวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยว การพัฒนาบุคคล การสนับสนุนยอมรับความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อศักยภาพสู่ความเป็นเลิศแห่งตลาดเชิงวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืน
Sustainable Management of Cultural Tourism Case study : Cultural tourism Ban Mai 100 year market in Chachoengsao Province. The purpose is to study the behavior and decision-making process of toursists visiting Ban Mai 100 year markey and to characterize the new administration in the present years as well as the management model for sustainable management at Ban Mai 100 year market. This study used data collected questionnaire which condtructed when 400 Thai tourists came to visit the Ban Mai 100 year market and the 14 interviews with the management team and the community representative. The study showed the behavior and decision-making process of the visitors. The reasons most visitors ages 21-30 years old, college students, who earn up to 7,000 baht a month came to visit were for example to have pleasure, leisure, to shop for cultural stuff, to learn the way of life of the community and to explore the natural beauty. The study explained that the community aimed to participate and manage its own tourism to be sustainable with the public relation that the community received support from the City of Chachoengsao, Tourism Authority of Thailand and the media. They manage financial efficiently and effectively by putting it into the financial community form. Trainings and excursions will be provided to staff to enhance their knowledge ability and understanding of the tourism arrangements. The community put an emphasis on the management to benefit all stakeholders because it is critical to maintain the relationship between business partners. To support environmental management, the community takes the initiative to manage their own waste resulting in the improvement of management methods. However, the basic facilities still need to be developed to support this tourist attraction therefore the responsible agency should encourage community and all parties to support and involve in tourism management in all areas for example cultural product management, public relation for cultural tourism, human resource development, the cooperation of stakeholders as well as environmental and facilities management to achieve the goal of excellence in sustainable in the target market.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/281
Appears in Collections:Business Administration - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirak-Boonpromraksa.pdf9.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.