Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/285
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Factors Influencing Accidents in Bangpoo Industrial Estate Samutprakan Province |
Authors: | แววมยุรา คำสุข Wawmayura Chamsuk วีรยุทธ สุนทรโชติ Weerayut Suntronchot Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | นิคมอุตสาหกรรมบางปู อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม Industrial accidents ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม Industrial safety |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานและเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ประชากร ได้แก่ พนักงานในโรงงานเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 59 โรงงาน โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โรงงานละ 5 คน แบ่งออกเป็นระดับผู้จัดการหรือหัวหน้างาน 1 คน และระดับพนักงาน 4 คน รวมทั้งหมด 295 คน และได้แบบสอบถามที่ได้รับกลับมา 270 คน คิดเป็นร้อยละ 91.52 เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ค่าการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressive Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ระดับความรู้สำคัญของปัจจัยด้านการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานมากที่สุด (x̄=4.57) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของพนักงาน (x̄=4.47) ปัจจัยด้านการบริหารด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน (x̄ = 4.45) และปัจจัยด้านทัศนคติด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน (x̄=4.44)ตามลำดับ โดยในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48) จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานมี 2 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านทัศนคติด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน (Beta=0.279) และปัจจัยด้านการบริหารด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน (Beta=0.447) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับความสัมพันธ์ของปัจจัยสามารถอธิบายความผันแปรของการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานได้ ร้อยละ 47.20 The purpose of this research is to study factors that influence accidents in factory and to analyze factors influencing accidents in factory of Bangpoo industrial Estate, Samutprakarn province. Population is employee in factory of Bangpoo Industrial Estate, Samutprakkarn Province, using selected purposively total target gropu of 59 factories, 5 persons per each factory including 1 manager or supervisor and 4 employees, altogether 295 persons and the questionnaires have been returned 270 persons to equivalent to 91.52%. A questionnaire is used to collected the data. The statistics used for data analysis are percentage, mean, standard deviation. Anaylsis of Variance: ANOVA, t-test, and multiple regression analysis. The study result found that the majority of respondents think that the most importnant factor protection of the employee (x̄=4.57), followed by environmental factor at work of employees (x̄=4.47), the management of safety at work of employees (x̄=4.45), and safety attitude at work of the employees (x̄=4.44), respectively, overview in 4 aspects at highest level (Average of 4.48). The hypothesis testing found that factors influencing the accident in the factory included of 2 variables i.e. safety attitude at work of the employees (Beta=0.279), and the management of safety at work of employees (Beta=0.447) at significant level of 0.05, the relation of factors that could explain the variability of the accident in the factory equivalent to 47.20%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/285 |
Appears in Collections: | Business Administration - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weerayut-Suntronchot.pdf Restricted Access | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.