Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2851
Title: การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจเม็ดพลาสติกเกรดบี : กรณีศึกษา บริษัท มิราเคิล เทคโนโลยี จำกัด
Other Titles: Business Compettive Strategy of Recycle Plastic Industry : A Case Study of Miracle Technology Co., Ltd.
Authors: เสนาะ ติเยาว์
Sanoh Tiyao
ณัฐวัสส์ อังศุประภา
Natawat Angsuprapa
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การแข่งขันทางการค้า
Competition
พลาสติก
Plastics
อุตสาหกรรมพลาสติก
Plastics industry and trade
การบริหารธุรกิจ
Industrial management
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: บริษัท มิราเคิล เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้รับจ้างผลิตและซื้อ-ขายเม็ดพลาสติกเกรดบี เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วๆ ไป เกี่ยวกับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า รถยนต์ รองเท้า ของเด็กเล่น ฯลฯ ซึ่งในการประกอบธุรกิจดังกล่าวนี้ การเข้า-ออก หรือจำนวนคู่แข่งขันมีมากมาย แต่ไม่สามารถระบุได้ ฉะนั้น ทางบริษัทฯ จึงต้องการจะหลีกหนีสภาวะดังกล่าว โดยทำการศึกษาการสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน และได้ทำการวิเคราะห์ทางด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้1. ด้านการตลาด (Marketing)2. ด้านการผลิต (Production)3. ด้านการเงิน (Financial)ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ส่วนนี้ จะถูกนำมาจัดทำเกี่ยวกับกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยแบ่งออกเป็น กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiation) กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) กลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Quick Response)โดยในแต่ละกลยุทธ์มีรายละเอียด ดังนี้1. กลยุทธ์ความแตกต่างทางด้านผลิตภัณฑ์ บริการหลังการขาย เทคโนโลยีและการผลิตอย่างสม่ำเสมอ2. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน ก็คือการเพิ่มกำลังการผลิตให้เต็มความสามารถ เพื่อที่จะได้จุดที่เรียกว่า การประหยัดจากขนาด (Economy of Scale)3. กลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว ซึ่ง ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ ก็ได้ดำเนินการอยู่แล้วอย่างสม่ำเสมอ เช่น การส่งมอบสินค้าตามกำหนดนอกจากกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้านนี้แล้ว ทางบริษัทฯ ยังได้ทำการวิเคราะห์ในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เกี่ยวกับการตั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกเกรดบี (Secondary Plastic Pellet) โดยได้ทำการเก็บข้อมูลในด้านต่างๆ จากการสัมภาษณ์โดยตรงกับผู้ที่มีประสบการณ์ และจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และได้ผลของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยการใช้มาตรวัด 3 แบบ คือ1. มูลค่าปัจจุบัน (Net Present Value : NPV)2. อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return : IRR)3. ระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period)ซึ่งผลของการวิเคราะห์ได้ค่าต่างๆ ดังนี้ ค่า NPV : จะเป็นบวก ณ ปีที่สอง แสดงว่า ผลตอบแทนที่ได้คุ้มค่ากับการลงทุน ค่า IRR : มีค่าเท่ากับ 35.23% ซึ่งเป็นค่าที่สูงมาก Pay Back Period เท่ากับ 2 ปี กับ 3 เดือน อีกทั้งยังได้ทำการวิเคราะห์ความไวของโครงการ (Sensitivity) ผลที่ได้คือ ค่า NPV : เป็นบวก ค่า IRR : อยู่ระหว่าง 22-26% และค่า Pay Back Period : อยู่ระหว่าง 2 ปีครึ่ง แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้โครงการจะได้รับผลกระทบ แต่ผลที่ได้ก็ยังคุ้มค่ากับการลงทุน
Description: ภาคนิพนธ์ (บธ.บ.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2851
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Business-Competitive-Strategy-of-Recycle-Plastic.pdf
  Restricted Access
7.89 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.