Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2861
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางขายตรงของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Influencing Factors of Consumers for Buying the Direct Dell Cosmetic Products in Bangkok
Authors: เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล
Penn Chayavivatkul
ดวงหทัย พอใจสินธรรม
Duanghathai Porjaisinthum
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
การซื้อสินค้า
Shopping
การขายตรง
Direct selling
เครื่องสำอาง
Cosmetics
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางขายตรงของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ่อบ้าน/แม่บ้าน นักธุรกิจ และนักศึกษา เป็นต้น จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ความเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Chi-Square จากการศึกษา พบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเป็นดังนี้ เพศหยิงมากกว่าเพศชายคิดเป็น 75.0% ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-29 ปี คิดเป็น 66.0% มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็น 68.0% มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็น 49.0% ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนโดยประมาณ 5001-10000 บาท คิดเป็น 74% ส่วนใหญ่เป็นโสดมากกว่าสมรสแล้วคิดเป็น 80.5%พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางขายตรง พบว่าการซื้อเครื่องสำอางขายตรง คิดเป็น 60.0% ส่วนใหญ่ยี่ห้อที่ซื้อ คือ มิสทีนและเอวอน คิดเป็น 53.0% เหตุผลในการเลือกซื้อมาที่สุด คือ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ประเภทเครื่องสำอางขายตรงที่ซื้อส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทตกแต่ง บนริมฝีปาก คิดเป็น 38.5% ความถี่ในการซื้อ 1 ครั้ง/เดือน คิดเป็น 68.0% ค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้งต่ำกว่า 500 บาท คิดเป็น 36.0% สถานที่ซื้อ เป็นร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย คิดเป็น 33.0% แนวโน้มในการซื้อเครื่องสำอางขายตรงชนิดอื่นมาใช้เพิ่มจากเดิม คิดเป็น 42.5% เหตุผลในการซื้อเครื่องสำอางขายตรงชนิดอื่นมาใช้เพิ่ม คือ เพื่อบำรุงรักษาผิวพรรณ เหตุผลที่ไม่ซื้อเครื่องสำอางขายตรงชนิดอื่นเพิ่ม เพราะไม่เห็นความจำเป็นของผลิตภัณฑ์ใหม่คิดเป็น 7.0% ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางขายจตรง กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการได้รับรองคุณภาพจากองค์การอาหารและยา (อย.) อันดับหนึ่ง มีคุณสมบัติ และสรรพคุณที่น่าสนใจ อันดับสอง ราคาของเครื่องสำอาง อันดับสาม ยี่ห้อของเครื่องสำอาง อันดับสี่ มีความหลากหลายของสินค้าให้เลือกซื้อ อันดับห้า มีการจัดรายการส่งเสริมการขาย เช่น ซื้อ 1 แถม 1 แจกผลิตภัณฑ์ทดลองใช้ คูปองส่วนลดและของแถม อันดับหก หาซื้อได้ง่าย มีจำหน่ายทั่วไป อันดับเจ็ด การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร อันดับแปด รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย อันดับเก้า ได้รับการแนะนำจากบุคคลอื่นเป็นลำดับสิบลำดับสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้เครื่องสำอางขายตรง พบว่าส่วนใหญ่ที่ไม่ใช้เครื่องสำอางขายตรง คือ ไม่มั่นใจในคุณภาพ จำนวน 43 คน คิดเป็น 44.33% โดยมีแนวโน้มในการใช้เครื่องสำอางขายตรงจำนวน 28 คน คิดเป็น 35.0% และรองลงไป ไม่ใช้เครื่องสำอางขายตรง จำนวน 52 คน คิดเป็น 65.0% โดยมีแนวโน้มในการใช้เครื่องสำอางขายตรงมากที่สุด คือ เอวอน จำนวน 11 คน คิดเป็น 30.55% ผลการวิเคราะห์ ข้อมูลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้เครื่องสำอางขายตรง พบว่า ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช้เครื่องสำอางขายตรง คือ ไม่มั่นใจในคุณภาพ จำนวน 43 คน คิดเป็น 44.33% โดยมีแนวโน้มในการใช้เครื่องสำอางขายตรง จำนวน 28 คน คิดเป็น 35.0% และรองลงไปไม่ใช้เครื่องสำอางขายตรง จำนวน 52 คน คิดเป็น 65.0% โดยมีแนวโน้มในการใช้เครื่องสำอางขายตรงมากที่สุด คือ เอวอน จำนวน 11 คน คิดเป็น 30.55% พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางขายตรง ได้แก่ 1. ยี่ห้อของเครื่องสำอางไม่ขึ้นกับเพศ อายุ อาชีพ 2. ราคาเครื่องสำอางไม่ขึ้นกับ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ 3. รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยไม่ขึ้นกับอายุ รายได้ เฉลี่ยต่อเดือน 4. มีความหลากหลายของสินค้าให้เลือกซื้อไม่ขึ้นกับ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5. ได้รับการรับรองด้านคุณภาพจากองค์การอาหารและยา (อย.) ไม่ขึ้นกับ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 6. มีคุณสมบัติและสรรพคุณที่น่าสนใจไม่ขึ้นกับอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ 7. มีการจัดรายการส่งเสริมการขาย เช่น ซื้อ 1 แถม 1 แจกผลิตภัณฑ์ทดลองใช้คูปองส่วนลดและของแถมไม่ขึ้นกับเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 8. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ข่าวสารไม่ขึ้นกับ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9. หาซื้อได้ง่ายมีจำหน่ายทั่วไปไม่ขึ้นกับ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10. ได้รับการแนะนำจากบุคคลอื่นไม่ขึ้นกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จากผลการศึกษาครั้งนี้ นักการตลาดหรือผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางขายตรง ควรนำผลการศึกษา ไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุงเครื่องสำอางขายตรงด้านคุณภาพ ให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้บริโภคซึ่งผู้บริโภคให้ความสำคัญสูงสุด อีกทั้งหาทางพัฒนาด้านอื่นๆ ตามปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญรองลงมาด้วย โดยคำนึงถึงความสอดคล้อง และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการปรับปรุงและพัฒนาสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค และสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางขายตรงในระยะยาว
Description: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2861
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-influencing-factors-of-consumers-for-buying-direct-sell-cosmetic.pdf
  Restricted Access
11.98 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.