Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2899
Title: ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกต่อความจำและค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสงและเสียงในอาสาสมัครปกติ
Other Titles: Effects of Aerobic Exercise on Memory and Audiovisual Reaction Time in the Normal Volunteers
Authors: อรุณโรจน์ โลหิตพินทุ
พจณิชา อุ่นพันธุ์วาท
ธนโชติ ใจบุญ
เมตตา โพธิ์กลิ่น
อัญชลี ชุ่มบัวทอง
Arunrot Lohitpintu
Pojnicha Ounpanwat
Thanachote Jaiboon
Maitta Phoglin
Anchalee Choombuathong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology. Student of Bachalor of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology. Student of Bachalor of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology. Student of Bachalor of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Keywords: การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
Aerobic exercises
ความจำ
Memory
ค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสง
Visual reaction time
ค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อเสียง
Auditory reaction time
เวลาตอบโต้
Reaction time
Issue Date: 2018
Abstract: การออกกำลังกายแบบแอโรบิกส่งผลต่อค่าเวลาปฏิกิริยาตอบสนองต่อแสงและเสียง ซึ่งเป็นการตรวจวัดความเร็วของการประมวลผลของระบบประสาทส่วนกลางและตอบสนองไปยังระบบประสาทส่วนปลายทำให้เกิดการเคลื่อนไหว นอกจากนี้การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอาจส่งผลต่อความจำของบุคคล การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกต่อความจำและค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสงและเสียงในอาสาสมัครปกติ ทำการศึกษาในอาสาสมัครปกติที่ออกกำลังกาย และไม่ออกกำลังกาย อายุระหว่าง 35-60 ปี รวม 80 คน เป็นกลุ่มที่ออกกำลังกาย 40 คน และกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย 40 คน พบว่าทั้งกลุ่มออกกำลังกาย และกลุ่มไม่ออกกำลังกาย มีค่าเวลาปฏิกิริยาต่อแสงและเสียงของมือขวา เท้าซ้ายและเท้าขวาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในผู้ที่ออกกำลังกายจะมีผลคะแนนรวมจากแบบทดสอบความจำมากกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายสรุปว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก มีผลให้ค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสงและเสียงลดลง และทำให้ความจำดีขึ้นเนื่องจากมีการเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด หัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ และสมอง ให้ดีขึ้น
Aerobic exercise can affect a person’s audiovisual reaction time - central information processing speed – and coordinated peripheral movement response. In addition, aerobic exercise can also affect a person’s memory. This study aims to analyze the effect of aerobic exercise on memory and audiovisual reaction time in 35-60 year old volunteers who were evenly divided into two groups; exercise (n=40) and non-exercise (n=40). The exercise group had a lower reaction time (right hand, right foot and left foot) than the non- exercise group, and the exercise group’s scores in the memory test were higher than the non-exercise group. Thus, it is concluded that aerobic exercise promotes activity in the lungs, heart, muscles and brain.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ก้าวตามศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน” (The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 : Science, Technology and Innovation: Following the Wisdom of the King for Sustainable National Development) วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พื้นที่ส่วนขยาย มฉก. 2) : หน้า HS-163 – HS-166
สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1zVB-vqbNqfTqr-ZYUmiY8wS2uN1amtOy/view
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2899
Appears in Collections:Science and Technology - Proceeding Document

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Effects-of-Aerobic-Exercise-on-Memory-and-Audiovisual-Reaction-Time.pdf118.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.