Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2975
Title: รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ ระดับอาชีวศึกษา
Other Titles: รายงานการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ ระดับอาชีวศึกษา
Authors: วิภาวรรณ สุนทรจามร
หทัย แซ่เจี่ย
ภูวกร ฉัตรบำรุงสุข
กำพล ปิยะศิริกุล
นริศ วศินานนท์
กนกพร ศรีญาณลักษณ์
Wipawan Sundarajamara
Hatai Jia
Puwakorn Chatbumrungsuk
Kampol Piyasirikul
Naris Wasinanon
Kanokporn Sriyanalug
何福祥
University of the Thai Chamber of Commerce. School of Humanitie
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Thammasat University. Pridi Banomyong International College
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Burapha University. Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ภาษาจีน – การศึกษาและการสอน (อาชีวศึกษา) – ไทย
Chinese language -- Study and teaching (Vocational education) – Thailand
汉语 -- 学习和教学 (职业教育) -- 泰国
ภาษาจีน – หลักสูตร
汉语 -- 课程
Chinese language -- Curricula
ภาษาจีน -- ตำราสำหรับชนต่างชาติ
汉语 -- 外国人教科书
Chinese language -- Textbooks for foreign speakers
ครูภาษาจีน – ไทย
中文老师 -- 泰国
Chinese teachers -- Thailand
Issue Date: 2016
Publisher: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยการบริหารจัดการ หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น รวมถึงปัญหาความเชื่อมโยงกับการศึกษาระดับอื่น เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ละเอียด และใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด(ใช้ข้อมูลปีการศึกษา 2557 เป็นหลัก) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนที่สอนภาษาจีนในประเทศไทย มีสถานศึกษาตอบแบบสอบถามจำนวน 85 แห่ง ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สุดท้ายเรียบเรียงออกมาเป็นผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ในด้านการบริหารจัดการ สถานศึกษาให้ความสำคัญกับการวางแผนมากที่สุดแต่กลับนำผลประเมินมาปรับปรุงในปีต่อไปน้อยลง แต่จากข้อมูลเรื่องปัญหาด้านการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีนจะเห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วสถานศึกษายังขาดระบบในการบริหารจัดการที่ดี ในด้านหลักสูตร สถานศึกษาเปิดรายวิชาภาษาจีนตามหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กำหนดทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีสถานศึกษาหลายแห่งเปิดรายวิชาภาษาจีนในระดับที่สูงขึ้นด้วยปัญหาหลักที่พบ คือความต่อเนื่องเชื่อมโยงกับการศึกษาระดับอื่น ในด้านสื่อการเรียนการสอน ปัจจุบันสถานศึกษาเลือกใช้หนังสือเรียนภาษาจีนอย่างหลากหลาย มีทั้งหนังสือของประเทศจีน และหนังสือที่เรียบเรียงโดยอาจารย์ชาวไทยเอง ทั้งนี้ เนื่องมาจาก สอศ. ไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่ากำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งใช้หนังสือเรียนภาษาจีนเล่มใดโดยเฉพาะ นอกจากนั้น สถานศึกษายังขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านผู้สอน สถาบันอาชีวศึกษาส่วนใหญ่ยังพึ่งพาครูอาสาสมัครจีนส่วนครูสัญชาติไทยอยู่ในลำดับที่สอง ที่เหลือคือครูสัญชาติจีนที่สถานศึกษาจัดหาเอง ครู/อาจารย์พิเศษและครูสัญชาติอื่น ในบรรดาครูสอนภาษาจีนทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาด้านภาษาจีน มีครูสอนภาษาจีนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านภาษาจีน ในด้านผู้เรียน พบว่า ปัญหาด้านผู้เรียนที่สำคัญที่สุดคือผู้เรียนขาดสภาพแวดล้อมทางภาษาจีน ดังนั้น การสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานศึกษาให้มากขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการฝึกทักษะและปฏิบัติจริงสามารถช่วยสร้างสภาพแวดล้อมนี้ได้ ในด้านความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น สถานศึกษายังขาดความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยยังขาดความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาของประเทศจีน ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนที่เป็นรูปธรรม
Description: สามารถเข้าถึงรายงานฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : http://www.thaiedresearch.org/home/paperview/29/?
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2975
ISBN: 9786162701016
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Study-of-Chinese-Language-Teaching-Vocation.pdf90.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.