Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/299
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม-
dc.contributor.advisorจริยาวัตร คมพยัคฆ์-
dc.contributor.advisorKamonthip Khungtumneum-
dc.contributor.advisorJariyawat Kompayak-
dc.contributor.authorกรุณา ประมูลสินทรัพย์-
dc.contributor.authorKaruna Pramoolsinsup-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-05-14T07:54:15Z-
dc.date.available2022-05-14T07:54:15Z-
dc.date.issued2013-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/299-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่ครรภ์แรก โดยใช้แนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2006) กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก จำนวน 40 ราย คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดแล้วแบ่งเป็น 2 กลุ่มในจำนวนที่เท่ากัน คือ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก และโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่ประกอบด้วยแผนการสอนกลุ่มย่อย แผนการสอนรายบุคคลและครอบครัว คู่มือส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ตัวแบบด้านบวก และแผ่นซีดีเสียงสำหรับฝึกปฏิบัติการคลายเครียดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ด้วยสถิติทดสอบค่าที (paired t-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ด้วยสถิติทดสอบค่าที (independent t-test) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกทั้งรายด้านและโดยรวม หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพิ่มสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value <.001 และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพทั้งรายด้านและโดยรวมหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value <.05th
dc.description.abstractThe quasi-experimental research type two group pretest-posttest design was aimed to examine the effect of health promotion program on health promoting beahvior of primigravida adolescents. Pender health promotion program model (2006) was used as a guideline for promiting health behavior. The samples consisted of 40 teenage primigravidas who were equally assigned into either an experimental group or a control group by purposive sampling. The experimental group received the health promotion program, wheras the control group received regular nursing care activities. The instruments were used in the study included a personal questionnaire health, promoting behavior of primigravida adolescents assessment and health promotion program, composed of the health promoting behavior lesson plans, handbook, positibe mental health association Ministry of Public Health. Content validity was examined by 3 experts and reliability test performed by Cronbach's alpha coefficient was at 0.92 data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test statistic. The results found that the health promoting behavior of primigravida adolescents both the side and total in the experimental group, after using the health promotion program was significantly higher than before at the p-vale <.001 level and the health promoting behavior of primigravida adeolescents both the side and total in the experimental group, after using the health promotion program was significantly higher than those who received nursing care activities at the p-vale <.05 level.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth
dc.subjectHealth promotionth
dc.subjectวัยรุ่นหญิง -- พฤติกรรมทางเพศth
dc.subjectTeenage girls -- Sexual behaviorth
dc.subjectการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นth
dc.subjectTeenage pregnancyth
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกth
dc.title.alternativeThe Effects of Health Promotion Program on Health Promoting Behavior of Primigravida Adolescentsth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf119.22 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf106.92 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf125.28 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf414.5 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf186.76 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf118.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf130.16 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.