Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/308
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ กสิผล-
dc.contributor.advisorรัชนี นามจันทรา-
dc.contributor.advisorปิ่นหทัย ศุภเมธาพร-
dc.contributor.advisorTaweesak Kasiphol-
dc.contributor.advisorRachanee Namjuntra-
dc.contributor.advisorPinhatai Supamethaporn-
dc.contributor.authorเสาวภา บุญมั่ง-
dc.contributor.authorSaowapa Boonmung-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-05-17T11:56:41Z-
dc.date.available2022-05-17T11:56:41Z-
dc.date.issued2013-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/308-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุม (cas-control study) กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะ ที่สนใจศึกษา (case) คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็ฯโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง จำนวน 60 ราย กลุ่มควบคุม (control) คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่เคยเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลใดๆ ด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง จำนวน 240 ราย ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ระดับการศึกษา ระยะเวลาของการป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 การรักษาด้วนอินซูลิน การรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด การใช้ยาร่วม ความเจ็บป่วยร่วม ระดับ HbA1c เวลาในการรับประทานอาหารกับการได้รับอินซูลินและ/หรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด ปริมาณในการรับประทานอาหารก่อนมาโรงพยาบาล 1 วันและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วย และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square Odds ratio และ binary logistic regression ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงโดยใช้ Crude OR ซึ่งไม่ได้ควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่น พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ปริมาณในการรับประทานอาหารก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน (Crude OR = 34.40; 95% CI=16.15-73.27) อุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Crude OR = 26.71; 95% CI=5.74-124,32) โรคไตเรื้อรัง (Crude OR = 6.16; 95% CI = 3.00-12.67) การรักษาด้วยอินซูลิน (Crude OR = 4.82; 95% CI = 2.65-8.75) อินซูลินผสมสำเร็จรูป (Crude OR = 3.86; 95% CI = 2.13-6.98) ระยะเวลาของการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (Crude OR = 3.71; 95% CI=1.61-8.54) โรคหัวใจ (Crude = 2.42; 95% CI = 1.26-4.68) ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Crude OR = 0.45; 95% CI = 0.25-0.81) การรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด (Crude OR=0.29; 95% CI= 0.25-0.81) การรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด (Crude OR=0.29; 95% CI=0.12-0.68) และยากลุ่มไบกัวไนด์ (Crude OR = 0.28; 95% CI=0.15-0.53) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับรุนแรงโดยใช้ Adjusted OR ซึ่งควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่น พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในระดับรุนแรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ปริมาณในการรับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ (Adjusted OR = 47.04; 95% CI=17.02-130.01) อุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Adjusted OR=19.37; 95% CI=2.11-177.36) และการได้รับอินซูลิน (Adjusted OR=10.88; 95% CI = 1.45-81.63)th
dc.description.abstractThis aim of research risk factors of severe hypoglycemia in patients with type 2 diabetes as case-control study. Samples have shown interest in this study. They cases are received diagnosed with type 2 diabetes and severe hypoglycemia of 60 patients, they controls group are who have been diagnosed with type 2 diabetes and had not been admitted to hospital with severe hypoglycemia of 240 patients. The study factors were level of education, duration of type 2 diabetic, treated with insulin, treated with oral antidiabetic drugs (OADs), comedication, comorbid, HbA1c, time of diet with insulin and / or oral antidiabetic drugs (OADs), quality of food before admittion (one day) and hypoglycemia prevention. The study tools were a questionnaires of personal information, information about the illness of the patient and hypoglycemia prevention. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square, Odds ratio (Crude OR) and binary logistic regression (Adjusted OR). Analysis result of the relationship between risk factors and the occurance of severe hypoglycemia in patient with type 2 diabetes found that the risk factors affecting the incidence of severe hypoglycemia significantly (p<0.05). They were composed of quality of food less than normal before admittion (one day) (Crude OR = 34.40; 95% CI=16.15-73.27); acute diarrhea (Crude OR = 26.71; 95% CI = 5.74-124.32); chronic kidney disease (Crude OR = 6.16; 95% CI = 3.00-12.67) ; treatment with insulin (Crude OR = 4.82; 95% CI = 2.65-8.75) treatment with premixed insulin (Crude OR = 3.86; 95% CI = 2.13-6.98) duration of tyoe 2 disbetes (Crude OR = 3.71; 95% CI = 1.61-8.54) heart disease (Crude OR = 2.42; 95% CI = 1.26-4.68) treatment with sulfonylureas (Crude OR = 0.45; 95% CI = 0.25-0.81) ; treatment with antihyperplecemia drugs (Crude OR = 0.29 ; 95% CI = 0.12-0.68) and treatment with biguanide (Crude OR = 0.28; 95% CI=0.15-0.53). The result of study found that risk factors affecting the occurance of severe hypoglycemia in patient with type 2 diabetes by Adjusted OR. This controls the influence of other factors. The risk factors were significantly (p<0.05). They were composed of quality of food less than normal before admittion (one day) (Adjusted OR = 47.04; 95% CI=17.02-130.01) ; acute diarrhea (Adjusted OR = 19.37; 95% CI = 2.11-177.36) and treatment with insulin (Adjusted OR = 10.88; 95% CI=1.45-81.63)th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectเบาหวาน -- การรักษาth
dc.subjectDiabetes -- Treatmentth
dc.subjectน้ำตาลในเลือดต่ำth
dc.subjectHypoglycemiath
dc.subjectเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินth
dc.subjectDiabetes Mellitus, Type 2th
dc.subjectNon-insulin-dependent diabetes-
dc.titleปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2th
dc.title.alternativeRisk Factors for Severe Hypoglycemia in Patients with Type 2 Diabetesth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่th
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf685.46 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf102.05 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf122.49 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf400.79 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf127.01 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf190.43 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf194.18 kBAdobe PDFView/Open
Referecces.pdf316.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.