Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3108
Title: การเตรียมความพร้อมสำหรับระบบ MS-QWL ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Preparation for MS-QWL System of Huachiew Chalermprakiet University
Authors: ชัชราวรรณ มีทรัพย์ทอง
Chatcharawan Meesubthong
ทนงศักดิ์ เผือกหนู
Tanongsak Phuaknu
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- พนักงาน
Huachiew Chalermprakiet University -- Employees
การบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา
College personnel management
ระบบการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน
Management System of Quality of Work Life
คุณภาพชีวิตการทำงาน
Quality of work life
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาการเตรียมความพร้อมสำหรับระบบ MS-QWL ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการนำระบบการบริหารคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการ (Management System of Quality of Work Life (MS-QWL)) มาใช้ในองค์กรในอนาคต ว่าการดูและสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน (สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางอารมณ์ สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางจิตวิญญาณ) ขององค์กรในปัจจุบันนั้น ส่งผลต่อความถึงพอใจในการทำงานของพนักงานในองค์กรหรือไม่ และหาสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อนำมาปรับปรุงระบบการทำงานขององค์กรในอนาคตต่อไป โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน ข้อมูลจากองค์การและเก็บข้อมูลแบบสอบถามจำนวน 113 ชุดการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการทดสอบสมมติฐาน เนื่องจากการแจกแจงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง มีการสุ่มตัวอย่างมาจากประชากรที่มีการแจกแจงไม่ปกติ ดังนั้น จึงใช้ค่าสถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ (Non Parametric Statistic) โดยกำหนดค่านัยสำคัญของการคำนวณเป็น 0.05 หากค่านัยสำคัญจากการคำนวณน้อยกว่าค่านัยสำคัญที่ตั้งไว้จะปฏิเสธสมมติฐานหลักว่าเป็นจริง แต่ถ้าค่านัยสำคัญที่คำนวณได้มากกว่าค่านัยสำคัญที่ตั้งไว้ก็จะยอมรับสมมติฐานหลักจากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 77.5 อยู่ในช่วงอายะ 26-30 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 44.2 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001-15,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคย รู้จักระบบ MS-QWL มาก่อน คิดเป็นร้อยละ 81.4 และถ้ารู้จักจะรู้ได้จากอินเตอร์เน็ต และการจัดสัมมนา ปัจจุบันองค์การมีการดูแลสุขภาวะทางกาย อารมณ์ ทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50.9 ร้อยละ 49.6 และ ร้อยละ 47.8 ตามลำดับ และมีการดูแลสุขภาวะทางจิตวิญญาณ อยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก อย่างละเท่าๆ กัน คิดเป็นร้อยละ 35.4 มีความพึงพอใจในการทำงาน 3 ลำดับแรก ได้แก่ ลำดับที่ 1 พนักงานมีความชอบงานที่ทำอยู่ในขณะนี้ ลำดับที่ 2 พนักงานมีความรู้สึกว่างานที่ทำตรงกับความรู้ ความสามารถ และลำดับที่ 3 พนักงานมีความรู้สึกเมื่อได้มาทำงาน พนักงานมีความคิดเห็นว่า อยากให้องค์การนำระบบ MS-QWL มาใช้ในองค์การ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 52.3 และเมื่อนำระบบ MS-QWL มาใช้แล้ว พนักงานมีความคิดเห็นว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด อยู่ในระดับมาก เช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 65.1 จากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ (เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน) เป็นอิสระต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด อายุเท่าใด มีการศึกษาระดับใด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ระดับใด ก็มีความพึงพอใจในการทำงานที่เหมือนกันหรือไม่มีความแตกต่างกัน และการดูแลสุขภาวะทั้ง 4 ด้านขององค์การในปัจจุบันนั้นไม่เป็นอิสระต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน กล่าวคือ การดูแลสุขภาวะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคม ทางจิตวิญญาณ ล้วนมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานทั้งสิ้น เนื่องจากสาเหตุที่ผู้บริหารมีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง จึงทำให้นโยบายของผู้บริหารมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยตามไปด้วย จึงส่งผลให้มีความพึงพอใจไปในทางลบของการทำงานของพน้กงานในปัจจุบัน
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3108
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preparation-for-MS-QWL-System.pdf
  Restricted Access
17.65 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.