Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3124
Title: ความผูกพันและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์เด็ก สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: The Organization Commitment and the Motivation of Practitioners in Children Homes under the Ministry of Social Development and Human Security, Nonthaburi Province
Authors: ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
Thipaporn Phothithawil
ทิพรัตน์ ธงทอง
Thipparat Thongtong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: แรงจูงใจในการทำงาน
Employee motivation
ความผูกพันต่อองค์การ
Organizational commitment
สถานสงเคราะห์เด็ก -- ไทย -- นนทบุรี
Children -- institutional care -- Thailand -- Nonthaburi
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระเรื่อง ความผูกพันและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์เด็ก สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ระดับความผูกพันต่อองค์การและระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์เด็ก จังหวัดนนทบุรี สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความผูกพันต่อองค์การกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์เด็ก จังหวัดนนทบุรี สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความผูกพันและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์เด็ก จังหวัดนนทบุรี สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์เด็ก ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งพี่เลี้ยง และผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งทีมสหวิชาชีพ จำนวน 243 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Window เพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) วิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร ปัจจัยส่วนบุคคลและความผูกพันต่อองค์การกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยใช้ตารางไขว้ (Crosstab) และค่าไคสแควร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า1. ข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 243 คน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่อายุ 41-60 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมากที่สุด ส่วนใหญ่มีรายได้ 5,000-15,000 บาท มีอายุการปฏิบัติงานอยู่ในช่วง 5-10 ปี และผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับตำแหน่งพี่เลี้ยง2. ความผูกพันต่อองค์การ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความผูกพันต่อองค์การในด้านของจิตใจ และความผูกพันด้านบรรทัดฐานทางสังคมในระดับที่สูง และความผูกพันด้านการคงอยู่กับองค์การในระดับปานกลาง3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแต่ละด้านอยู่ในระดับสูง โดยมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความสำเร็ขของงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการยอมรับนับถือและด้านความมั่นคงในงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ด้านความก้าวหน้าในงาน และด้านเงินเดือนและสวัสดิการตามลำดับ4. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความผูกพันต่อองค์การ กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (9 ด้าน) พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ5. ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ควรมีการสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงาน ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดหรือการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรมีการปรับวุฒิและเลื่อนขั้นให้กับผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน และส่งเสริมการจัดสวัสดิการและค่าตอบแทนเพื่อเป็นการส่งเสริมเรื่องความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่กับองค์การ ให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์รู้สึกมีความผูกพันกับสถานสงเคราะห์และมีความทุ่มเทในการทำงานมากขึ้น โดยที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์ก็จะมีความมั่นคงในงานเพิ่มขึ้นด้วย
Description: การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3124
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Organization-Commitment-and-the-Motivation.pdf
  Restricted Access
11.77 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.