Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3400
Title: การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืนโดยใช้โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกําลังกายในผู้สูงอายุ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
Other Titles: Increasing Lower Extremity Muscle Strength and the Speed of Sit-to-Stand by Using a Motor Imagery Control Combined with Exercise Program in Older Adults: An EEG Study
Authors: บุญรัตน์ โง้วตระกูล
เสรี ชัดแช้ม
ปรัชญา แก้วแก่น
Boonrat Ngowtrakul
Seree Chadcham
Pratchaya Kaewkaen
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
Burapha University. College of Research Methodology and Cognitive Science
Burapha University. College of Research Methodology and Cognitive Science
Keywords: ผู้สูงอายุ
Older people
ขา -- กล้ามเนื้อ
Leg -- Muscles
การลุกขึ้นยืน
Sit-to-stand
กำลังกล้ามเนื้อ
Muscle strength
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง
Electroencephalography
จินตภาพการเคลื่อนไหว
Motor imagery
Issue Date: 2017
Citation: วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 15,2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560) : 53-68.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการลุกขึ้นยืนโดยใช้โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ เพศหญิง ช่วงอายุ 60-74 ปี จำนวน 48 คน จัดเข้ากลุ่มโดยวิธีสุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบสุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายและโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่อง Hand-held dynamometer วัดความเร็วในการลุกขึ้นยืนด้วยวิธีทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง (Five Times Sit-to-Stand Test: FTSST) และบันทึกสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองด้วยระบบนิวโรสแกน (Neuroscan system) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบทีผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มทดลองมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น การลุกขึ้นยืน 5 ครั้งเร็วขึ้นและเปอร์เซ็นต์ อีอาร์ดี (Event-Related Desynchronization: ERD) ของคลื่นแอลฟาในสมองส่วนหน้า และบริเวณเซ็นซอรีมอเตอร์ในขณะจินตภาพการลุกขึ้นยืนสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p<.05) สรุปได้ว่า การใช้โปรแกรมควบคุมจินตภาพการเคลื่อนไหวร่วมกับการออกกำลังกายสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความเร็วในการลุกขึ้นยืน รูปแบบของโปรแกรมนี้เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนอกเหนือจากการออกกำลังกายทั่วไป
The purposes of this research were to increase lower extremity muscle strength and the speed of sit-to-stand by using a Motor Imagery Control Combined with Exercise Program (MICE) compared with a control group who received the General Exercise Program (GE). The participants were forty-eight female older adults aged 60-74 years, were randomly assigned to an experimental group (n=23) and the control group (n=25). A randomized pretest and posttest active control group design was applied in this study. The research instruments were MICE and GE programs, lower extremity muscle strength was measured by Hand-held dynamometer, speed of sit-to-stand was measured by Five Times Sit-to-Stand Test (FTSST) and Neuroscan system was used to collect signals of EEG. Data were analyzed by t-test.The results revealed that: The experimental group had increased in muscle strength of lower extremity, improved speed of FTSST, and enhancement of %ERD (Event-related desynchronization) of alpha wave at the frontal lobe and the sensorimotor area during sit-to-stand imagery task (higher than the control group after training, p<.05). These findings show that the MICE program can increase the muscle strength and the speed of sit-to-stand. This approach is an alternative program for exercising for older adults in addition to general exercise.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMCS/article/view/129145/97090
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3400
Appears in Collections:Physical Therapy - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Increasing-Lower-Extremity-Muscle-Strength-and-the-Speed-of-Sit-to-Stand.pdf109.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.