Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3566
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพสตรี : ศึกษากรณีพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors Effecting Mental Health of Female Professional Nurses : A Case Study of Nurses in Private Hospitals in Bangkok
Authors: ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
นันทวัน แก้วเอี่ยม
Nuntawan Kawauim
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: พยาบาล -- สุขภาพจิต
Nurses -- Mental health
ความเครียด (จิตวิทยา)
Stress (Psychology)
การปรับตัว (จิตวิทยา)
Adjustment (Psychology)
พยาบาล -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
Nurses -- Family relationships
โรงพยาบาลเอกชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Hospitals, Proprietary -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 1998
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิตพยาบาล และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาล 11 โรงพยาบาล จาก 44 โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ จำนวนทั้งสิ้น 278 คน โดยวิธีใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน สัมพันธภาพในครอบครัว และสุขภาพจิตของพยาบาลเมื่อได้ข้อมูลครบตามจำนวนที่ต้องการ จึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยจากการวัดระดับสุขภาพจิตและข้อมูลด้านต่าง ๆ ของพยาบาลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 28.8 ปี รายได้เฉลี่ยเดือนละ 16,432 บาท ส่วนใหญ่เป็นโสด และ มีร้อยละ 82.0 ที่ทำงานในวิชาชีพพยาบาลต่ำกว่า 10 ปีปัจจัยด้านครอบครัว พยาบาลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสัมพันธภาพกับครอบครัวค่อนข้างดีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน แยกเป็น 3 ลักษณะคือ การทำงาน ลักษณะงาน และ สัมพันธภาพในที่ทำงานด้านการทำงานของพยาบาล พบว่า พยาบาลส่วนใหญ่มีปัญหาน้อยเกี่ยวกับการทำงานเป็นกะ และส่วนใหญ่ทำงานล่วงเวลาไม่บ่อยนัก ซึ่งการทำงานล่วงเวลาไม่เป็นปัญหากับบุคคลในครอบครัวนัก และการทำงานใกล้ชิดกับความเจ็บป่วยทำให้พยาบาลส่วนใหญ่มีความรู้สึกหดหู ปานกลางด้านลักษณะงานที่เกี่ยวกับสวัสดิการและโอกาสก้าวหน้า พบว่าส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการดีพอใช้ และส่วนใหญ่คิดว่าตนเองมีโอกาสการก้าวหน้าในหน้าที่การงานบ้างด้านสัมพันธภาพกับบุคคลในสถานที่ทำงาน อันหมายถึง เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า และ แพทย์ พบว่า ส่วนใหญ่มีสัมพันธภาพกับกลุ่มคนดังกล่าวดีพอใช้ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาล พบว่า มีเพียง 2 ปัจจัย คือ ระยะ เวลาในการประกอบอาชีพพยาบาล ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์ผกผันกับปัญหาสุขภาพจิตของ พยาบาล กล่าวคือ หากเวลาในการประกอบอาชีพพยาบาลน้อยจะมีแนวโน้มในการมีปัญหาสุขภาพจิตมากปัจจัยอีกด้านหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลคือ สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะแปรผกผันกับสุขภาพจิตของพยาบาลเช่นกัน หากมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน จะมีแนวโน้มที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่น้อยลงผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อลดปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของพยาบาล โดยเพิ่มความเข้าใจ และพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากร ให้คำแนะนำแก่พยาบาลจบใหม่ มีการแจกแจงรายละเอียดต่าง ๆ ในการทำงาน สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลที่มีผลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดจนโรงพยาบาลของรัฐในสังกัดต่าง ๆ ศึกษาสาเหตุและปัจจัยของการลาออกจากงานของพยาบาลที่มีอายุมาก และศึกษาปัจจัยและสาเหตุของพยาบาลที่มีอายุมากจึงอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนน้อย
Description: สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3566
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Factors-Effecting-Mental-Health-Of-Female-Professional-Nurses.pdf
  Restricted Access
8 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.