Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3568
Title: | การประยุกต์ใช้เทคนิค FMEA (Failure Mode and Effect Analysis) เพื่อลดปริมาณผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในกระบวนการผลิตคอนกรีตทนไฟ |
Other Titles: | Defect Reduction of Castable Refractory Process by FMEA (Failure Mode and Effect Analysis). |
Authors: | วิชุตา อยู่ยงค์ Wichuta Youyong นาฏย์รพี เขียนทองหลาง Natraphee Keanthonglang Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | คอนกรีต Concrete คอนกรีต -- คุณภาพ Concrete -- Quality วัสดุทนไฟ Refractory materials คอนกรีต -- การผลิต Concrete -- Manufacture การตรวจสอบทางวิศวกรรม Engineering inspection การควบคุมคุณภาพ Quality control การวิเคราะห์ความล้มเหลว (วิศวกรรมศาสตร์) Failure analysis (Engineering) Failure Mode and Effect Analysis การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ |
Issue Date: | 2011 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | โรงงานกรณีศึกษาที่ทำการศึกษาในครั้งนี้เป็นโรงงานผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุทนไฟและวัสดุสิ้นเปลือง รวมทั้งให้บริการด้านซ่อมบำรุงสำหรับเตาหลอมในภาคอุตสาหกรรมมีคอนกรีตทนไฟ เป็นผลิตภัณฑ์หลักปัจจุบันประสบปัญหาคุณภาพ เนื่องจากคอนกรีตทนไฟมีปัญหาการกระจายตัวของ Bauxites ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ระหว่างปี 2550-2552 มีจำนวนของเสียเกิดขึ้นประมาณ 3% - 4% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ ปรับปรุงกระบวนการผลิตคอนกรีตทนไฟเพื่อลดจำนวนของเสีย การดำเนินงานเริ่มจากศึกษา กระบวนการผลิต วิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้แผนภาพสาเหตุและผล จากนั้นทำการวิเคราะห์ลักษณะ ข้อบกพร่องและผลกระทบสำหรับกระบวนการผลิต แล้วค้นหาแนวทางแก้ไขที่สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง พบว่า มี 3 สาเหตุที่ควรเร่งทำการแก้ไข คือ พนักงานใส่สารผิดสูตร พนักงานหยิบวัตถุดิบผิด และคอนกรีตทนไฟตกค้างในท่อทางเดินบรรจุ ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยการพัฒนาแบบฟอร์มเอกสารวิธีการประเมินทักษะพนักงานตลอดจนเอกสารวิธีการปฏิบัติงานและแผนการฝึกอบรมพนักงาน ก่อนปรับปรุง 1 เดือน (ธ.ค.53) มีผลิตภัณฑ์คอนกรีตทนไฟมีคุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนด 0.75 ตัน คิดเป็นเงิน 45,000 บาท หลังปรับปรุงเป็นเวลา 1 เดือน (ม.ค.54) มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพไม่ตรงตามข้อกำหนด คือ 0.10 ตัน คิดเป็นเงิน 6,000 บาท ซึ่งลดลง 0.65 ตัน คิดเป็นเงิน 39,000 บาท และมีเปอร์เซ็นต์ผลิตของดี คือ 99.84% ซึ่งเป็นไปตามที่โรงงงานกรณีศึกษาได้กำหนดไว้ใน KPI คือ 99.80% |
Description: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3568 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Defect-Reduction-of-Cast-Able-Refractory-Process-By-FMEA.pdf Restricted Access | 10.57 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.