Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3624
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสิทธิ์ จักษ์เมธา-
dc.contributor.advisorWorasith Jackmetha-
dc.contributor.authorเนรัญชลา รัตโนดม-
dc.contributor.authorNeranchala Ratnodom-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2025-02-06T14:07:36Z-
dc.date.available2025-02-06T14:07:36Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3624-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546en
dc.description.abstractภาคนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์หาแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการทำกำไรของบริษัท ยูไนเต็ด ไทย-มาล์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตแผ่นระบายความร้อน และแผ่นระบายความเย็น (คอยล์) โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก 2 ประเภทคือ เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน และเครื่องปรับอากาศภายในรถประจำทาง เครื่องปรับอากาศภายในบ้านจะทำการผลิตแบบตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ส่วนเครื่องปรับอากาศภายในรถประจำทางจะทำการผลิตแล้ว ให้ตัวแทนเป็นผู้จัดจำหน่าย โดยการกำหนดราคาขายให้มีกำไรร้อยละ 150 ในการผลิตเครื่องปรับอากาศภายในรถประจำทางจะทำการเก็บสินค้าคงคลัง เพื่อรอการจำหน่าย ปรากฏว่าผลการดำเนินงานประสบกับการขาดทุนติดต่อกันมา 4 ปี ในการศึกษาเพื่อวิเคราะห์แนวทางแก้ไขนี้ ได้นำแนวคิดในเรื่องการวางแผนกระบวนการผลิต การจัดลำดับการผลิตและการบริการ การวางแผนความต้องการวัสดุ การวิเคราะห์ต้นทุนตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลังของบริษัทมาวิเคราะห์ โดยนำข้อมูลด้านการผลิต ด้านบัญชี และด้านการบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับผลการดำเนินงานของบริษัทผลการวิเคราะห์พบว่า ระบบการผลิตไม่มีความสมดุลในสายการผลิต และไม่สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของผลิตภัณฑ์ ระบบการบริหารสินค้าคงคลังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรอีกทั้งการกำหนดต้นทุนมาตรฐานอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ ทำให้การกำหนดราคาขายไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต่างเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง เช่น ค่าเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายทางด้านค่าแรงงาน เป็นต้นจากผลการวิเคราะห์ พบว่าในแนวทางแก้ไขปัญหานั้นสิ่งแรกที่ผู้บริหารควรทำการพิจารณาแก้ไข คือ การวางระบบการผลิต ให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของสินค้า ในแต่ละงวด และวางแผนการสั่งวัตถุดิบในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการในการผลิต เพื่อป้องกันการขาดวัตถุดิบในการผลิต อีกทั้งยังป้องกันการมีสินค้าสำเร็จรูปเก็บไว้เกินความจำเป็น และการ กำหนดราคาขายจากต้นทุนมาตรฐานตามเกณฑ์ที่ถูกต้อง แนวทางเหล่านี้นำไปสู่การลดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการทำกำไรเพิ่มขึ้นen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectเครื่องปรับอากาศen
dc.subjectAir conditioningen
dc.subjectกำไรของบริษัทen
dc.subjectCorporate profitsen
dc.subjectการวางแผนการผลิตen
dc.subjectProduction planningen
dc.subjectต้นทุนการผลิต -- การบริหารen
dc.subjectCost -- Administrationen
dc.subjectการควบคุมสินค้าคงคลังen
dc.subjectInventory controlen
dc.subjectบริษัท ยูไนเต็ด ไทย-มาล์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัดen
dc.subjectUnited Thai-Mal Airconditioning Co., Ltd.en
dc.titleการเพิ่มศักยภาพในการทำกำไรของบริษัท ยูไนเต็ด ไทย-มาล์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัดen
dc.title.alternativeIncreasing the Profitability of United Thai-Mal Airconditioning Co., Ltd.en
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Increasing-the-profitability-of-United-Thai-MAL.pdf
  Restricted Access
15.68 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.