Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3630
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorราวดี สุริสระพันธ์ุ-
dc.contributor.advisorRawadee Surisrapun-
dc.contributor.authorนุชรีย์ บูรณะชัชวาลย์-
dc.contributor.authorNucharee Buranachatchawan-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2025-02-07T15:24:18Z-
dc.date.available2025-02-07T15:24:18Z-
dc.date.issued2001-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3630-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม. ) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544en
dc.description.abstractในการแข่งขันทางธุรกิจ สินค้าที่มีคุณภาพ และมีต้นทุนต่ำ จัดว่าเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญ กลยุทธ์ของการบริหารต้นทุนและคุณภาพของสินค้าให้มีประสิทธิภาพจึงจะสามารถสร้างกำไรและขยายตลดขององค์การได้อย่างต่อเนื่องของเสียที่เกิดจากการผลิตเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น การควบคุมของเสียที่เกิดขึ้น ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะลดต้นทุนการผลิต และลดความสูญเสียอันเปล่าประโยชน์ขององค์การ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพของสินค้าควบคู่กันไปด้วยการศึกษาเรื่องการลดต้นทุนและของเสียของบริษัท เอ ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย 4 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยที่แท้จริงที่ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 2. เพื่อศึกษาถึงวิธีการควบคุมคุณภาพของการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการรับวัตถุดิบจนถึงขั้นตอนการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป 3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนของของเสียหรือสินค้าด้อยคุณภาพที่ร้องเรียนและส่งคืนโดยลูกค้า 4. เพื่อศึกษาถึงวิธีการควบคุมคุณภาพของสินค้าจากโรงงานผลิต จนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และปัญหาการเพิ่มขึ้นของของเสียจากการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทฯ ในปี 1999 และสำรวจการปฏิบัติงานของจริงของบริษัทฯ พบว่าสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของต้นทุนมาจากการเพิ่มขึ้นของของเสียอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลัก 4 ประการ คือ คน วัตถุดิบ อุปกรณ์เครื่องจักร และวิธีการ 1. คน พบว่า พนักงานขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ขาดการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของ ทำให้พนักงานไม่ระมัดระวังและขาดความตั้งใจในการทำงาน2. วัตถุดิบ พบว่า ยังขาดการตรวจประเมิน และการคัดเลือกผู้ขายอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ได้วัตถุที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่กำหนด และมีอายุการใช้งานต่ำ3. อุปกรณ์และเครื่องจักร พบว่า ขาดการบำรุงรักษา ทำงานไม่เที่ยงตรง พนักงานผู้ใช้ เครื่องจักร พนักงานซ่อมบำรุง และพนักงานล้างเครื่อง เป็นพนักงานาคนละชุดกัน ขาดความเข้าใจที่ตรงกันและไม่มีความรู้ในการถนอมรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ กำหนดการบำรุงรักษาไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้4. วิธีการ พบว่า ขาดการสื่อสารที่ดีในแผนกเดียวกันระหว่างพนักงานในแต่ละกะ การผลิตและต่างแผนก เนื่องจากไม่มีวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนจากสาเหตุที่พบ ได้เสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุงในปัจจัยหลักทั้ง 4 ปัจจัย โดยนำระบบ ISO 9002 มาเป็นแนวทางในการจัดการฝึกอบรมพนักงาน การประเมินและคัดเลือกผู้ขาย การบำรุงรักษาเครื่องจักร และการจัดทำวิธีปฏิบัติงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พบว่าสามารถช่วยลดของเสียในปี 2543 ได้ถึงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปี 2542 อย่างไรก็ตามผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การ ควรจะได้นำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ และอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น วางแผนการผลิต การพยากรณ์ปริมาณวัตถุดิบ การลดต้นทุนด้านทรัพยากรต่างๆ ต่อไปเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectต้นทุนทางอุตสาหกรรมen
dc.subjectCosts, Industrialen
dc.subjectต้นทุนการผลิตen
dc.subjectCosten
dc.subjectการควบคุมความสูญเปล่าen
dc.subjectLoss controlen
dc.subjectอาหารแช่แข็งen
dc.subjectFrozen foodsen
dc.subjectการบริหารงานผลิตen
dc.subjectProduction managementen
dc.subjectการควบคุมคุณภาพen
dc.subjectQuality controlen
dc.subjectบริษัท เอ ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัดen
dc.subjectA Food (Thailand) Co., Ltd.en
dc.titleการลดต้นทุนการผลิตและของเสียของบริษัท เอ ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัดen
dc.title.alternativeReducing Production Cost and Wastes of the A Food (Thailand) Co., Ltd.en
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Reducing-Production-Cost-and-Wastes.pdf
  Restricted Access
8.29 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.