Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3632
Title: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการมาใช้บริการสวนสาธารณะกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณี สวนหลวง ร.9
Other Titles: User Satisfaction with the Service of The Bangkok Metropolitan Public Parks : A Case Study of Suan Luang Rama 9
Authors: เสนาะ ติเยาว์
Sanoh Tiyao
บรรเจิด หรินทรานนท์
Bunjird Harinthanon
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: ความพอใจของผู้ใช้บริการ
User satisfaction
สวนสาธารณะ -- การจัดการ
Parks -- Management.
สวนสาธารณะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Parks -- Thailand -- Bangkok.
มูลนิธิสวนหลวง ร.9
Suan Luang Foundation Rama 9
สวนหลวง ร.9.
Suanluang Rama IX
Issue Date: 1999
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การทำภาคนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1.เพื่อค้นหาข้อมูลระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการมาใช้บริการสวนหลวง ร. 9 ว่ามีความพึงพอใจในระดับใด 2. ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการมาใช้บริการของผู้ใช้บริการว่ามีลักษณะใด 3. เพื่อนำผลการศึกษาไปสู่ข้อเสนอแนะให้กับทางกรุงเทพมหานครและมูลนิธิสวนหลวง ร.9 ในการที่จะจัดการบริการให้มีประสิทธิภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้มาใช้บริการมากยิ่งขึ้น การรวบรวมข้อมูล ได้สอบถามข้อมูลจากผู้ใช้บริการสวนหลวง ร.9 จำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างใช้แบบการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยการสอบถามจากประชาชนผู้ไปใช้บริการ ณ สวนหลวง ร.9 สำหรับเครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสอบถาม มีคำถามรวม 49 ข้อ แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้บริการ ตอนที่ 2. เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะการมาใช้บริการ ตอนที่ 3. เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS. for Window 7.5 หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของผู้มาใช้บริการกับระดับความพึงพอใจ การทดสอบหาความสัมพันธ์ ด้วยวิธีของไคสแควร์ (Chi - Square test)ผลการศึกษา มีดังนี้1. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.492. ผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจ แบ่งแยกตาม ส่วนต่าง ๆ 7 ส่วน โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ลำดับ 1 ส่วนของสวนหลวง ร.9 ค่าเฉลี่ย 4.02 มีระดับความพึงพอใจมาก ลำดับ 2 ส่วนของความสะดวกในการเดินทาง ค่าเฉลี่ย 3.92 มีระดับความพึงพอใจมาก ลำดับ 3 ส่วนของคุณภาพการบริการ ค่าเฉลี่ย 3.85 มีระดับความพึงพอใจมาก ลำดับ 4 ส่วนของการบริการเจ้าหน้าที่ มีระดับความพึงพอใจปานกลาง ลำดับ 5 ส่วนอำนวยความสะดวก ค่าเฉลี่ย 3.21 มีระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.15 ลำดับ 6 ส่วนการประชาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ย 3.14 มีระดับความพึงพอใจปานกลาง ลำดับ 7 ส่วนค่าบริการ ค่าเฉลี่ย 3.03 มีระดับความพึงพอใจปานกลาง 3. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า สมมติฐาน 8 ข้อ ได้รับการสนับสนุน 4 ข้อ ปฏิเสธ 4 ข้อ ได้รับการสนับสนุน 4 ข้อ ดังนี้ 3.1 จำนวนครั้งที่มาใช้บริการสวนหลวง ร.9 ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจ 3.2 เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.3 อาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.4 รายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ ปฏิเสธสมมติฐาน จำนวน 4 ข้อ ดังนี้ 3.5 ปฏิเสธสมมติฐาน ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการต่อสวนหลวง ร.9 ในระดับมากคือ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการในระดับปานกลาง 3.6 อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ กล่าวคือ อายุมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.7 สถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ กล่าวคือ สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.8 สถานภาพการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ คือ สถานภาพการศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการข้อเสนอแนะจากการศึกษาพบว่า ทางสวนหลวง ร. 9 ควรเร่งปรับปรุงการบริการในส่วน การบริการที่มีระดับความพึงพอใจปานกลาง คือ ส่วนการบริการของเจ้าหน้าที่ ส่วนอำนวยความสะดวก ส่วนการประชาสัมพันธ์ ส่วนค่าบริการ
Description: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3632
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
User-Satisfaction-with-the-Service-of-the-Bangkok-Metropolitan-Public-Parks.pdf
  Restricted Access
14.44 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.