Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3652
Title: | ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนในการให้บริการสุขภาพจิต : ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | Knowledge, Comprehension, Affection and Practice on Mental Health Service of Public Health Officers : A Study of Public Health Centers in Nontaburi Province |
Authors: | ณัฏฐษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya ประพันธ์ วงศ์สวัสดิ์ Prapun Wongsawat Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | บุคลากรสาธารณสุข -- ไทย -- นนทบุรี Public health personnel -- Thailand -- Nonthaburi. สุขภาพจิต Mental health ผู้ป่วยจิตเวช Psychotherapy patients ทัศนคติ Attitude (Psychology) ความเข้าใจ Comprehension เจ้าหน้าที่อนามัย |
Issue Date: | 2003 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพจิตของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตจังหวัดนนทบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวัดในการศึกษากับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจังหวัดนนทบุรี จำนวน 129 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยมีดังนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 30 ปีลงมา เป็นเพศหญิง การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตในระดับสูง คือ ตอบถูกเฉลี่ย 11.5 ข้อ จากข้อคำถาม 15 ข้อ กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพจิตในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกที่ดีต่อเรื่องการเจ็บป่วยด้วยโรคทางสุขภาพจิตและต่อผู้ป่วยทางจิตเวชเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติงนด้านการบริการสุขภาพจตติในสัดส่วนสูงเป็นส่วนใหญ่ ด้านความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ความเข้าใจ ความรู้สึกและการปฏิบัติงานาด้านการบริการสุขภาพจิต มีความสัมพันธ์กัน การอบรมความรู้สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจ ความรู้สึกและการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพจิต ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพจิต จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้กรมสุขภาพจิตต้องจัดให้มีหลักสูตรการอบรม ความรู้ด้านจริยธรรม ศีลธรรม การดูแลและพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มทัศนคติที่ดีในการให้บริการกับกลุ่มตัวอย่าง จัดประชุมปรึกษาวางแผนกิจกรรมการพยาบาล ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานร่วมกันว่ามีรูปแบบและขั้นตอนอย่างไร มีการประสานงานอย่างไร และขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองและหน่วยงานอื่นๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างผู้ร่วมงาน |
Description: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3652 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Knowledge-Comprehension-Affection-and-Practice-on-Mental-Health-Service.pdf Restricted Access | 10.19 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.