Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3719
Title: | วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมปลาทูกระป๋อง : กรณีศึกษา บริษัท ไทย อกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | A Study of Increasing the Efficiency of Production Method in Tuna Canning : Thai Agri Food Manufacturing Co., Ltd. |
Authors: | พิชิต สุขเจริญพงษ์ Pichit Sukchareonpong ปราณี เกษมทรง Pranee Kasemsong Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋อง – การผลิต Tuna canning industry --Manufacture ผลิตภาพแรงงาน Labor productivity การควบคุมคุณภาพ Quality control การควบคุมการผลิต Production control การจูงใจในการทำงาน Employee motivation ประสิทธิภาพทางอุตสาหกรรม Industrial efficiency บริษัท ไทย อกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) Thai Agri Food Manufacturing Co., Ltd. |
Issue Date: | 1999 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋อง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการ และสงขลา จำนวนรวมทั้งหมด 6 บริษัท โดยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจทางด้านแรงงาน การวัดประสิทธิภาพภายในโรงงาน แนวทางการพัฒนาคุณภาพของพนักงาน และกิจกรรมส่งเสริมการผลิตที่เลือกนำมาใช้ เมื่อได้ข้อมูลครบนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกันผลการวิจัยพบว่า ทุกบริษัทมีการจูงใจพนักงานรายวัน นอกจากค่าแรงปกติแล้ว ยังมีค่าจ้างพิเศษ (incentive) เมื่อพนักงานทำงานได้ตามที่บริษัทต้องการ รวมทั้งสวัสดิการเสริมเพิ่มเติม นอกจากกฎหมายกำหนด เพื่อจูงใจพนักงานกิจกรรมส่งเสริมการผลิต ทางด้านการผลิต ส่วนใหญ่นิยม JIT (Just in Time)ด้านการควบคุมคุณภาพ ทุกบริษัททำ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point)ด้านความปลอดภัย บริษัทส่วนใหญ่นิยมนำเทคนิค JAS (Job Safety Analysis) มาใช้ในการดำเนินการด้านการซ่อมบำรุง ทุกบริษัททำ PM (Preventive Maintenance) มาใช้ในการดำเนินการผลการวิจัยครั้งนี้พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับบริษัท ไทย อกริฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เพื่อให้ความสำคัญของการนำกิจกรรมส่งเสริมการผลิตมาใช้ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้พนักงานเข้าใจในการศึกษาปรับปรุงตนเอง ให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ซึ่งผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้างาน ควรจะต้องทำความเข้าใจ และใช้วิจารณญาณของตนเองในการที่จะนำกิจกรรมส่งเสริมการผลิตไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนเอง และสร้างความเข้าใจจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการในขบวนการผลิต เพื่อร่วมมือและแรงใจในการที่จะปรับปรุง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มผลผลิต ให้สามารถอยู่รอดหรือชนะคู่แข้งในวงการธุรกิจ โดยมีจุดที่แตกต่างและเด่นชัดกว่า ซึ่งจำเป็นต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยเฉพาะวิธีการปรับปรุง และพัฒนาคน ซึ่งจะต้องทำสะสมไปตลอดๆ โดยไม่มีการล้มเลิก |
Description: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3719 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
A-Study-of-Increasing-the-Efficiency-of-Production-Method-in-Tuna-Canning.pdf Restricted Access | 9.77 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.