Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3728
Title: | การเพิ่มยอดขายของบริษัท ดี.เอ็ม.ที. คอนเทนเนอร์ จำกัด |
Other Titles: | Increasing Sale Revenues of D.M.T. Container Co., LTD. |
Authors: | จิรนีย์ สุรเศรษฐ Jiranee Suraseth ปัญธนา ทิวะสุวรรณเตมีย์ Panthana Tivasuwantemee Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | อุตสาหกรรมกล่องกระดาษ Paper box industry บริษัท ดี.เอ็ม.ที. คอนเทนเนอร์ จำกัด -- การตลาด D.M.T. Container Co., LTD. -- Marketing กล่องกระดาษ Cartons บรรจุภัณฑ์กระดาษ Paper containers การบริหารคุณภาพโดยรวม Total quality management กล่องกระดาษลูกฟูก |
Issue Date: | 2003 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | ภาคนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการเพิ่มยอดขายของบริษัท ดี.เอ็ม.ที. คอนเทนเนอร์ จำกัด ในส่วนของผลิตภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping package)โดยขายแผ่นกระดาษลูกฟูกและกล่องกระดาษลูกฟูกให้กับผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมผ่านพนักงานขายของบริษัท (Personal Selling) ดังนั้นยอดขายของบริษัทจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของพนักงานขายและตราสินค้า D.M.T. ในสายตาของลูกค้าเป็นหลักบริษัท ดี.เอ็ม.ที. คอนเทนเนอร์ จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16กันยายน 2534 ด้วยทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาทบริษัทได้เติบโตมาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศโดยช่วงปลายปี 2539 ต่อเนื่่องมาถึงปี 2540ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นวิกฤตเศรษฐกจิส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูกของบริษัทลดลงต่อเนื่องจนถึงปี 2541 อย่างไรก็ตามยอดขายของบริษัท ได้ปรับตัวดีขึ้นในปี 2542 ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยยอดขายมีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายระยะสั้นของบริษัทในอันที่จะเพิ่มยอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 12 ต่อปีเพื่อรองรับการขยายการผลิตในอนาคตบริษัทจึงจำเป็นต้องวางแผนทงการตลาดใหม่เพื่อที่จะเพิ่มยอดขายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทได้ตั้งไว้โดยการวิเคราะห์โครงสร้างของสภาพแวดล้อม ส่วนประสมทางการตลาด 4 P'sการวิเคราะห์ BCG Model การวิเคราะห์วัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์และการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์เพื่อใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถภายในและโอกาสทางการตลาดของบริษัทประเด็นหลักที่ได้จาการวิเคราะห์ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะ คือบริษัทจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพโดยผู้บริหารทุกระดับต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลดีแก่บริษัทและพนักงานของบริษัททุกคน ได้แก่การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้บริหารข้อมูลและการตัดสินใจการนำการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเข้ามาใช้เพื่อลดปัญหาการขัดแย้งและสร้างการยอมรับในเป้าหมายเดียวกัน คือ การเพิ่มยอดขายอย่างน้อยร้อยละ 12 ต่อปี ทั้งนี้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการบริหารและลดต้นทุนในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันรวมทั้งนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่่มให้กับผลิตภัณฑ์และสอดคล้องกับภาวะการแข่งขันและสถานภาพของบริษัทซึ่งอยู่ในตำแหน่งปรัศนี (Question Marks) อย่างไรก็ตามความสำเร็จของบริษัทในการบรรลุการเพิ่มยอดขายและรองรับการผลิตในอนาคตจะเป็นรูปธรรมได้ก็ต่อเมื่อพนักงานทุกฝ่ายทุกระดับและทุกหน่วยงานต้องร่วมกันทำงานแก้ไขปัญหาเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันและควรปรับปรุงแผนการตลาด ตลอดจนกลยุทธ์ต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพการแข่งขันอย่างตลอดเวลาเช่นกันเนื่องจากปัจจัยภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่นสงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริการกับประเทศอิรัก หรือราคาน้ำมันตลาดโลกเป็นต้นทั้งนี้ภาคนิพนธ์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทโดยการนำเสนอกลยุทธ์เพื่อรักษา-เพิ่มส่วนแบ่่งทางการตลาดและสามารถสร้างตลาดใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวการผลิตในอนาคตสามารถกระจายสินค้าได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นบริษัทได้รับผลทางอ้อมในเชิงประชาสัมพันธ์ตราสินค้าให้กับบริษัทจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเกิดมูลค่าจากการปฏิบัติงานด้วยคุณภาพทุกส่วนงาน (TQM) พนักงานได้เพิ่มพูน ทักษะ ความรู้ อย่างต่อเนื่องต้นทุนการดำเนินงานลดลงจากการทำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัย รวดเร็ว และลดความเสี่ยงในการบริหารงาน |
Description: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3728 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Increasing-Sale-Revenues-of-D.M.T..pdf Restricted Access | 11.87 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.