Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3749
Title: | การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมสารเคมีผสมเพิ่มสำหรับงานคอนกรีต : กรณีศึกษา บริษัท ดับบลิว.อาร์.เกรซ (ไทยแลนด์) จำกัด |
Other Titles: | Competitive Strategic Changes in Concrete Admixture Industry : A Case Study of W.R. Grace (Thailand) Limited |
Authors: | สุชาติ สังข์เกษม Suchart Sangkasem พงษ์เทพ สิริกุลประทุม Pongthap Sirikulpratum Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | อุตสาหกรรมเคมี Chemical industry คอนกรีต Concrete การแข่งขันทางการค้า Competition การวางแผนเชิงกลยุทธ์ Strategic planning บริษัท ดับบลิว.อาร์.เกรซ (ไทยแลนด์) จำกัด W.R. Grace (Thailand) Limited |
Issue Date: | 2000 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | บริษัท ดับบลิว. อาร์. เกรซ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสารเคมีผสมสำหรับงานคอนกรีต เพื่อใช้วัตถุดิบชนิดในการผลิตคอนกรีตประเภทต่างๆ คือ คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready mix Concrete) และคอนกรีตอัดแรง (Prestress Concrete) หรือ คอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete)จากการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น ตัวเลขความต้องการในอุตสาหกรรม ยอดการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ รวมทั้งผลกำไรขั้นต้น ส่วนแบ่งทางการตลาดของทุกบริษัทในอุตสาหกรรม โครงสร้างตลาดตามลักษณะการแข่งขันในทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค พบว่า บริษัท ดับบลิว.อาร์.เกรซ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ประสบกับปญหาต่างๆ 3 ด้าน ในช่วงปี พ.ศ. 2540 ถึง 2542 คือ1. ปัญหาภาวะตลาดซบเซา หรืออยู่ในช่วงตกต่ำ (Decline) คือ ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง กำไรขั้นต้นต่ำ2. ปัญหาทางด้านการแข่งขัน อันเนื่องมาจากมีคู่แข่งขันรายใหม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย การแข่งขันทางด้านราคา ซึ่งนโยบายของบริษัท ดับบลิว.อาร์.เกรซ (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัทแม่ ไม่มีนโยบายการแข่งขันทางด้านราคา เพราะการแข่งขันทางด้านราคา ลูกค่าจะไม่ได้รับมูลค่าเพิ่ม (Value Added) อย่างแท้จริง จึงทำให้ในตลาดบางส่วนไม่สามารถแข่งขันได้ เพียงแต่ดูแลรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ แต่ในบางส่วนสามารถแข่งขันได้ด้วยความสามารถแกน (Core Competency) ของบริษัทฯ ซึ่งเป็นจุดแข็ง3. ปัญหาการชำระหนี้ล่าช้าของลูกค้า เนื่องจากลูกค้าเองขาดสภาพคล่องทางการเงินและขาดแคลนแหล่งเงินทุนปัญหาที่บริษัท ดับบลิว.อาร์.เกรซ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ประสบทั้ง 3 ด้านนี้ ได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาโดยรวม คือ ในส่วนของปัญหาภาวะตลาดซบเซา และปัญหาทางด้านการแข่งขัน จะใช้ทฤษฎีทางด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) และกลยุทธ์การแข่งขันโดยทั่วไป เพื่อทำให้บริษัทฯ มียอดขายที่สูงขึ้น และมีกำไรขั้นต้นสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งทำให้บริษัทฯ มีความสามารถในการแข่งขันที่เป็นเลิศในอุตสาหกรรมสารเคมีผสมเพิ่มสำหรับงานคอนกรีตตลอดไป ในส่วนของปัญหาการชำระหนี้ล่าช้าของลูกค้า จะนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่บริษัทฯ ได้ปฏิบัติอยู่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีและมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว |
Description: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริการธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3749 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Competitive-Strategic-Changes-in-Concrete-Admixture-Industry.pdf Restricted Access | 9.01 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.