Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3819
Title: | การประยุกต์ใช้เทคนิคการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม :กรณีศึกษาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ บริษัทไตตันมาเก็ตติ้ง จำกัด |
Other Titles: | The Implementation of Total Producdtive Maintenance : A Case Study of Paper Package Factory, Titan Marketing Co.,Ltd. |
Authors: | พิษณุ วรรณกูล Pitsanu Wannakul พนิต นะวิโรจน์ Panij Naviroj Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | การควบคุมความสูญเปล่า Loss control บรรจุภัณฑ์กระดาษ Paper containers อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษ บริษัท ไตตัน มาเก็ตติ้ง จำกัด Titan Marketing Co., Ltd. การบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม Total Productive Maintenance |
Issue Date: | 2009 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาอิสระฉบับนี้จัดทำขึ้น เพื่อนำเทคนิคการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ บริษัท ไตตัน มาเก็ตติ้ง จำกัด และเสนอแนวทางในการลดความสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตบรจุภัณฑ์กระดาษ โดยใช้เทคนิคการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุทกคนมีส่วนร่วม จากการศึกษาข้อมูลของเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ โดยขอข้อมูลย้อนหลัง แสดงปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละชนิดของสินค้าแล้ว นำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดของเสียโดยใช้แผนภูมิเหตุและผล พบว่า ปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นนั้นล้วนมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน จากกระดาษไม่ได้ขนาด กล่องไม่ได้รูปทรง กระดาษอาร์ตไม่ติดกาวปะกระดาษอาร์ตไม่เรียบ ห่อกล่องไม่เรียบ มีรอยกาวบนกล่อง และกล่องไม่เรียบ ซึ่งมีสาเหตุย่อยมาจากการทำงานของเครื่องจักร ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและร่วมมือในการนำการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม มาทำลองใช้ในส่วนผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ คือ การเปลี่ยนอะไหล่เมื่อถีงอายุ ใบตรวจสภาพเครื่องจักรรายวันด้วยตนเอง และใบบันทึกจำนวนครั้งการแก้ไขเครื่องจักร/อุปกรณ์เมื่อเกิดของเสีย พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับความสูญเสียในโรงงาน และผู้ศึกษาได้เข้าทำการศึกษาวัดผลหลังการนำเทคนิคทางการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมมาใช้ในเครื่องจักรทากาวอัตโนมัติ และผู้ศึกษาได้นำข้อมูลหลังจากการใช้เทคนิคทางการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม มาคำนวณเป็นค่าประสิทธิภาพเครื่องจักร (OEE) ปรากฏว่าค่า OEE มีแนวโน้มที่สูงขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดเวลาในการหยุดเครื่องจักรให้ลดน้อยลงจากการทำการบำรุงรักษาตามแผนได้ จากการเก็บข้อมูลทั้งหมดของผู้วิจัย เพื่อเสนอให้กับทางผู้บริหารระดับสูงพิจารณานำไปเป็นนโยบายบริษัทฯ และขยายผลปฏิบัติได้จริงในเครื่องจักรอื่น ๆ ในโรงงาน เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต |
Description: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3819 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
The-Implementation-of-Total-Productive-Maintenance.pdf Restricted Access | 15.49 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.