Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/383
Title: การจัดการความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนบ้านสมสนุก ตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
Other Titles: Risk Management for Diabetes Mellitus Type II in Ban Somsanook Community, Tambol Tha-Sa-Ard, Saka District, Nongkai Province
Authors: นภาพร แก้วนิมิตชัย
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
Napaporn Kaewnimitchai
Vanida Durongrittichai
พัชรินทร์ วิณโรจน์
Phatcharin Winnaroj
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
Non-insulin-dependent diabetes
Diabetes Mellitus, Type 2
Risk management
การบริหารความเสี่ยง
ชุมชนบ้านสมสนุก (หนองคาย)
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนบ้านสมสนุก ตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 3) การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยตำบลท่าสะอาดด้านการจัดการความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 35-65 ปีไม่มีโรคประจำตัว ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานจำนวน 171 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและไคสแควร์ วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 46-50 ปี จบการศึกษาประถมศึกษา ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม รายได้ครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท โดยมากมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานและมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมระดับต่ำ ไม่พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ แต่พบว่าความเครียดและกิจกรรมทางกายสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.253 และ 0.293) ขณะที่การบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วนสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.165) ผลการวิเคราะห์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า 1) อัตราอุบัติการณ์ อัตราความชุก และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้น 2) คัดกรองตั้งรับตามนโยบาย และดำเนินการคัดกรองรวมกับการปฏิบัติงานอื่น 3) การคัดกรองเชิงรุกด้วยวิธีการทำงานตามปกติ โดยให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ และให้ อสม.เป็นผู้ปฏิบัติหลัก 4) ข้อมูลในรายงานคัดกรองในโปรแกรม JHCIS และโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงของ สปสช.ไม่ครบถ้วน 5) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในชุมชน เป็นกิจกรรมตามนโยบาย ภายใต้การร่วมมือกับท้องถิ่น และผู้ร่วมกิจกรรมเป็น อสม.6) หน่วยงานสุขภาพระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ดำเนินงานจัดการความเสี่ยงร่วมกับท้องถิ่น 7) งบประมาณหลักที่ใช้ในการดำเนินงานมาจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 8) บุคลากรในหน่วยงาน และชุมชนดำเนินงานจัดการความเสี่ยงตามการปฏิบัติงานปกติ 9) ใช้แบบคัดกรองด้วยวาจา และการเจาะเลือดจากปลายนิ้วในการจัดการความเสี่ยง 10) JHCIS และโปรแกรมออนไลด์เป็นระบบบันทึกข้อมูลการคัดกรอง 11) พยาบาลวิชาชีพใช้กระบวนการในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในชุมชนข้อเสนอแนะจากการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังนี้ 1) ประเมินความเสี่ยงอย่างครอบคลุม ลดสาเหตุโรคอย่างเป็นระบบด้วยการสร้างนโยบายสาธารณะ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ สื่อสารความเสี่ยงเพื่อสร้างความตระหนักด้วยภูมิปัญญา และใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) ปรับบทบาทภาครัฐโดยบูรณาการยุทธศาสตร์ การป้องกันระดับจังหวัดสู่สถานีอนามัยอย่างชัดเจน ประเมินสถานการณ์และเฝ้าระวังเบาหวาน ด้วยการวิเคราะห์อัตราอุบัติการณ์ อัตราความชุก และปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยปีละครั้ง 3) พัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขและคนในชุมชนในการคัดกรองความเสี่ยงยกระดับบริการที่มีอยู่เดิมให้มากขึ้น พัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทบทวนการดำเนินงานตามนโยบาย สร้างแนวปฏิบัติและนวัตกรรมการคัดกรองเบาหวาน 4) ถ่ายโอนความเสี่ยงต่อเบาหวานด้วยการเน้นบทบาทของผู้เกี่ยวข้องให้มากขึ้น 5)พัฒนาการบันทึกข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ และ 6) อุดช่องว่างการทำงานด้วยการวิเคราะห์งานและจัดสรรบุคลากรให้ตรงกับงาน
The purpose of this study was aimed to 1) examine the risk level of type 2 Diabetes Mellitus (D.M.) in people who lived in Bansomsanook community, Tha-Sa-ard, Sega District, Nongkai Province, 2) to investigate factors associated with the type 2 D.M., and 3) to explore the health personnel’s performance on risk management for type 2 D.M. at Tha-Sa-ard Public Health Center. The sample included 171 healthy adults who have never been diagnosed of diabetes, aged between 35-65 years old. The questionnaires were employed. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson’s coefficient, chi-square test, and content analysis was implemented for qualitative data.The results showed that samples mainly were female, aged between 46-50 years old, primary education, earning a living as farmer, household monthly income less than 10,000 baht. Overall, they risk to D.M. and had health behavior in low level. No significant factors associated with blood sugar. However, stress and physical activity had significantly associated with unbalanced nutrition (r = 0.253 and 0.293). While, unbalanced nutrition significantly associated with blood sugar level (r = 0.165). Regarding to health personnel’s performance on risk management for type 2 D.M., it indicated as follows 1) the higher tendency of incidence, prevalence, and D.M. complications, 2) screening, process and other practices was carried out consistently with policy, 3) aggressive screening was performed through ordinary routine to achieve the desired goal and the health volunteer serves as core worker, 4) IHCIS-based screening data and screening program by the National Health Security Office (NHSO) was incomplete, 5) health promotion activity for D.M. prevention was undertaken under the collaboration with local villager and health volunteers, 6) health center at provincial, district, and sub-district level pursued on risk management along together with local health center, 7) core budget was granted from the Provincial Public Health Office and NHSO, 8) health personnel and community pursued on risk management on regularly basis, 9) verbal screening and capillary hemoculture was implemented in pursuit to risk management, 10) JHCIS and online application were used as screening data record system, and 11) professional nurses implemented the preventive action for the development of the community diabetes. The results suggested the improvement on risk management performance for D.M. type 2 prevention as follows; 1) comprehensive risk evaluation, reducing the pathogenesis systematically through public policy and health environment, effective communication for intellectual awareness while community serves as base, 2) government role should be reviewed by integrated strategy, disease prevention from provincial to local level explicitly, situation evaluation and monitoring through analysis of incidence, prevalence and risk factors at least once a year, 3) health personnel and community villagers development for risk screening, enhancing serviceability, developing community participation, reviewing policy-based practice, creating practices and innovation for diabetes screening, 4) transfer the knowledge of D.M. prevention by concentrating to the involvements increasingly, 5) effective record development, and 6) filling the gap through analysis of task and putting right person into the right job.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/383
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf188.52 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf97.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf143.24 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf313.31 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf114.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf215.5 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf116.01 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf467.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.