Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/388
Title: ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Other Titles: Effect of Empowerment Program on Medication Behavior in Type 2 Diabetic Patients by Community Nurse Practitioners
Authors: หทัยชนก บัวเจริญ
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
Hathaichanok Buajaroen
Vanida Durongrittichai
บุษกร มงคลนิมิตร
Budsakorn Mongcolnimite
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การเสริมสร้างพลังอำนาจ.
Non-insulin-dependent diabetes -- Drug therapy
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน -- การรักษาด้วยยา
Diabetes Mellitus, Type 2
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาของพยาบลเวชปฏิบัติชุมชนต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ประชากร คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในศูนย์สุขภาพชุมชน 6 แห่ง ของโรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จำนวน 201 คน ผ่านการคัดกรองพฤติกรรมความไม่ร่วมมมือในการใช้ยาเบาหวานชนิดรับประทานจากแบบสัมภาษณ์ประเมินความร่วมมือ (Morisky Score) โดยผลการประเมินคะแนนน้อยกว่า 4 คะแนน จำนวน 62 คน (ร้อยละ 35.32) จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก และโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ ซึ่งประกอบด้วยการค้นหาพฤติกรรมการใช้ยา สะท้อนคิด ตัดสินใจ เยี่ยมบ้านศึกษาแบบแผนการดำเนินชีวิต ยกย่องเพิ่มคุณค่า ติดตามพฤติกรรมการใช้ยา เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ระดับ 0.55 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) ไคสแควร์ (Chi-Square) และ สถิติทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon Signed Ranks Test) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้ยาที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ปฏิบัติได้ถูกต้องน้อยที่สุด ได้แก่ การลืมรับประทานยาเบาหวาน (ร้อยละ 17.5) รองลงมา ได้แก่ การรับประทานยาเบาหวานตรงตามเวลาที่แพทย์สั่ง (ร้อยละ 40.0) และการรับประทานยาเม็ดเบาหวานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง (ร้อยละ 77.5) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ได้แก่ การมองเห็น และจำนวนครั้งความถี่ของการรับประทานยาต่อวันและพฤติกรรมการใช้ยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 โดยก่อนโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมีคะแนนพฤติกรรมระดับสูงร้อยละ 52.5 หลังโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมีคะแนนพฤติกรรมระดับสูงทั้งหมด ร้อยละ 100.0 ข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมพลังอำนาจแก่พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน เพื่อเป็นแรงเสริมในการปรับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในด้านการมองเห็น หรือจำนวนครั้งความถี่ของการรับประทานยา
This quasi-experimental research was aimed to examien the effect of empowerment program on medication behavior in type 2 diabetes patients by community nurse practitioners. The samples included a total of 201 type 2 diabetic patients selected from six community health centers at Dermbang-nangbouch Hospital. The partcipants had been undergone screening the non-compliance medication-taking behavior through the Compliance Questionnaires for Oral Diabetes Pills (Morisky Score). The results showed that 62 patients (35.32%) obtained 4 scores or lesser. Then, 40 participants were selected by multi-stage random sampling. The instrument used to gather data included interviewing, recording anf empowerment program focusing on identifying medication-taking behavior, reflection, and home visiting for investigating the living pattern, value enhancing, follow up of medication-taking behavior. Content validity was performed by experts, reliability test performed by Cronbach's Alpha Coefficient was at 0.55. Data analysis was conducted by using mean, standard deviation, percentage, Pearson's Product Moment Correlation, Chi-Square, and Wilcoxon Signes Ranks Test. The results demonstrated the less medicatio-taking behavior in type diabetic patients as follow; forgetting drug intake (17.5%), followed by intake of diabetic pills timely as perscribed by physiciam (40.0%), and intake of diabetic pills 1 hour before meal (77.5%), respectively. The factors associated statistically (at <0.05) with type 2 diabetic patients' intake of drugs included visibility and frequency of daily intake. The diabetic patients' behavior after giving the treatment of empowerment program was statistically improved at significant level <0.001; namely, behavior score was 52.5% at pre-treatment of empowerment program, while behavior score rose to 100% after treatment of empowerment program. For future work, it;s suggested that workshop seminars should be held for empowering the community nurse practitioners, and it should be used as reinforcement for medication-taking behavior modification in type 2 diabetes patients for visibility and frequency of drug intake.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/388
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf
  Restricted Access
576.33 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
TableofContents.pdf
  Restricted Access
143.91 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter1.pdf
  Restricted Access
162.6 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter2.pdf
  Restricted Access
382.78 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter3.pdf
  Restricted Access
224.04 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter4.pdf
  Restricted Access
211.93 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter5.pdf
  Restricted Access
193.83 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
References.pdf
  Restricted Access
711.78 kBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.