Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4319
Title: | การแก้ไขการเกิดภาวะขาดทุน : กรณีศึกษา บริษัท คลินิคัลไทย จำกัด |
Other Titles: | Solution to the Operational Loss of Clinical Thai Co., Ltd. |
Authors: | พิชิต สุขเจริญพงษ์ Pichit Sukchareonpong รชนีกร ไกรโชค Rachaneegorn Kraichoke Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | เสื้อกาวน์ผ่าตัด Surgical gowns ต้นทุนการผลิต Cost การควบคุมต้นทุน Cost control การควบคุมสินค้าคงคลัง Inventory control สินค้าคงคลัง Inventories บริษัท คลินิคัล ไทย จำกัด Clinical Thai Co. Ltd. การควบคุมกระบวนการผลิต Process control |
Issue Date: | 2001 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การทำภาคนิพนธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดทุนที่เกิดขึ้นกับบริษัท คลินิคัลไทย จำกัด ซึ่งเป็นฐานการผลิตเสื้อคลุมแพทย์สำหรับใช้ในห้องผ่าตัดชนิดใช้ครั้งเดียว โดยที่บริษัทจะต้องทำการผลิตสินค้าเพื่อส่งกลับไปยังสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสวีเดนเพื่อทำการจำหน่าย โดยที่จะต้องทำการผลิตและส่งสินค้าจำนวน 290,000 ตัวในทุกสัปดาห์ ฐานการผลิตที่เมืองไทยแห่งนี้ได้เปิดดำเนินการผลิตนับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเก้าปีกว่าแล้ว นับตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจกรรมมา บริษัทมีผลกำไรมาโดยตลอด แต่ในปี 2543 หลังจากดำเนินธุรกิจมาจนถึงเดือนกันยายน ปรากฏว่าผลการดำเนินการประสบกับภาวะขาดทุนเป็นครั้งแรก และขาดทุนถึง 11.7 ล้านบาท ในการศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขนี้ ได้นำแนวคิดในเรื่องการวางระบบการผลิต การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลังของบริษัทมาวิเคราะห์ โดยนำข้อมูลด้านบัญชี ด้านการผลิต และด้านการบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับผลการดำเนินการของบริษัท ผลการวิเคราะห์พบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้บริษัทเกิดการขาดทุนนั้น เนื่องมาจากการที่ต้นทุนวัตถุทางตรงมีราคาสูงขึ้นมาก โดยที่บริษัทได้สั่งวัตถุดิบทั้งหมดจากทวีปยุโรป อีกทั้งระบบการผลิตของบริษัทไม่มีความสมดุลกับปริมาณความต้องการสินค้า และระบบการบริหารสินค้าคงคลังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งมีผลทำให้การผลิตต้องหยุดชะงัก เนื่องจากขาดวัตถุดิบหลักในการผลิต หลังจากนั้นก็จะต้องเร่งการผลิตเพื่อให้ทันส่งสินค้าไปยังสำนักงานใหญ่ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ต่างเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรเกิด เช่น ค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น ค่าขนส่งทางอากาศ เป็นต้น ข้อเสนอแนะ จากผลการวิเคราะห์พบว่าในแนวทางแก้ปัญหานั้น สิ่งที่ผู้บริหารควรทำการพิจารณาแก้ไขเป็นสิ่งแรกคือ การหาแหล่งวัตถุดิบภายในประเทศหรือแถบภูมิภาคเดียวกันทดแทน วางระบบการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของสินค้าในแต่ละงวด อีกทั้งการวางแผนสั่งวัตถุดิบในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการในการผลิต ทั้งนี้เพื่อป้องกันการขาดวัตถุดิบในการผลิต อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการมีสต๊อกมากเกินความจำเป็น และแนวทางเหล่านี้ยังเป็นการนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพโดยไม่กระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ |
Description: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4319 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Solution-to-the-Operational-Loss.pdf Restricted Access | 7.63 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.