Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/537
Title: | 年腊梅与老舍文学创作比较研究 |
Other Titles: | การศึกษาเปรียบเทียบบทประพันธ์ของเหนียน ล่าเหมย กับเหลา เส่อ A Comparative Stylistic Study on the Literary Works of Nian Lamei and Lao She |
Authors: | Fan, Jun ฟ่าน จวิน 范军 郑敏 Zheng, Min เจิ่ง, หมิ่น |
Keywords: | Lao, She เหลา, เส่อ เหนียน, ล่าเหมย Nian, Lamei วรรณกรรมจีน -- ประวัติและวิจารณ์ Chinese literature -- History and criticism วรรณคดีเปรียบเทียบ Comparative literature นักประพันธ์ -- จีน Authors, Chinese การวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis (Communication) 中国文学 -- 历史与批评 比较文学 作家 -- 中国 年腊梅 老舍 |
Issue Date: | 2010 |
Publisher: | Huachiew Chalermprakiet University |
Abstract: | ในช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้าถึงช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ยิสิบในขณะที่ประเทศจีน กำลังสืบเสาะหนทางแห่งการปลดปล่อยชนชาติและความก้าวหน้าด้วยความทุกข์ระทมขมขื่นอยู่นั้น ประเทศไทยก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการตื่นตัวทางลัทธิชาตินิยมภายใต้การคุกคามและบีบบังคับอย่างต่อเนื่องจากเหล่าประเทศมหาอำนาจตะวันตก การสร้างวรรณคดีภาษาจีนในไทยเป็นการบันทึกการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยอย่างซื่อสัตย์สุจริต เหล่านักประพันธ์ไทยจีนได้อาศัยความรู้สึกนึกคิดอันลึกซึ้งที่มีต่อมนุษยธรรมและด้วยทักษะทางศิลปะอันยอดเยี่ยม ได้ตีแผ่การดำเนินวิถีชีวิตอันทุกข์ยากลำบากของคนไทยในยุคสมัยนั้น ท่านเหนียนล่าเหมยเป็นตัวแทนผู้ยอดเยี่ยมท่านหนึ่งในกลุ่มนักประพันธ์ไทย-จีน ท่านอาศัยความเห็นอกเห็นใจที่มีต่อประชาชนผู้ใช้แรงงานอันล้ำลึกและด้วยห้วงลึกในใจตนอันแรงกล้าที่มีต่อพันธกรณี และภาะหน้าที่ต่อสังคมภายใต้สภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตที่ยากเย็นแสนเข็ญ และพื้นหลังทางการเมืองอันปั่นป่วน น่าสะพรึงกลัว และอันตราย ด้วยจิตใจอันรักยิ่งที่มีต่อประเทศไทยและประเทศจีน จึงได้สร้างบทประพันธ์ดีเด่นที่มีเสน่ห์ศิลปะ และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วยเจตจำนงค์ที่ยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่ท้อถอย บทประพันธ์วรรณกรรมของท่านส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงแก่นแท้ของประชาชนผู้ใช้แรงงานในสังคมขั้นรากฐานและวิถีดำเนินชีวิตที่สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างกรรมกรกับเจ้าของอุตสาหกรรมขนาดย่อมรวมทั้งได้บรรยายถึงฐานะทางสังคมของสตรีและภาวะการดำรงอยู่ของสตรี เหนียนล่าเหมย นักประพันธ์ไทย-จีน เป็นตัวแทนวรรณกรรมไทย-จีนท่านหนึ่ง หัวข้อแนวคิดและท่วงทำนองศิลปะในงานประพันธ์ของท่าน เมื่อเทียบกับเหลาเส่อนักประพันธ์จีนยุคสมัยใหม่ มีส่วนที่ละม้ายคล้ายคลึงกันอยู่มากมาย บทความนี้จะใช้วิธีเปรียบเทียบทางวรรณคดีมาวิเคราะห์บทประพันธ์คลาสสิกดั้งเดิมของเหนียนล่าเหมยนักประพันธ์ภาษาจีนของไทย กับเหลาเส่อนักประพันธ์นามอุโฆษยุคสมัยใหม่ของจีน โดยเริ่มต้นลงมือทำการศึกษาเปรียบเทียบอย่างละเอียดจากพื้นเพเบื้องหลัง ภาพลักษณ์ของตัวละคร โครงเรื่องและวิธีการพรรณนา ตลอดจนการนับถือศาสนาและอื่นๆ วรรณคดีก็คือการสะท้อนชีวิตการสืบเสาะ วัฒนธรรมจีนดั้งเดิมและวรรณกรรมสมัยใหม่ของจีนที่มีผลกระทบต่อนักประพันธ์ไทยจีน รวมถึงคุณค่าทางสังคมและคุณค่าทางศิลปะของบทประพันธ์ที่พวกเขาแต่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางปฏิบัติและทางประวัติศาสตร์อันลึกซึ้งและยาวไกล วรรณคดีไทย-จีน ได้นำเอาวัฒนธรรมจีนและวรรณคดีจีนดั้งเดิมยอดเยี่ยม ฝังรากอยู่ในไทยและผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย จนก่อตัวเป็นทัศนียภาพที่มีลักษณะจำเพาะในวรรณคดีภาษาจีนของโลกขึ้น จากการศึกษาเปรียบเทียบประสบการณ์ชีวิต ภาพลักษณ์ตัวละครในบท และการนับถือศาสนาของนักประพันธ์ทั้งสองท่าน ทำให้ดิฉันมีความเข้าใจในความใกล้เคียงและความแตกต่างระหว่างผลงานของเหนียนล่าเหมย และเหลาเส่อ โดยทำให้มีความเข้าใจในเชิงลึกของผลงานการประพันธ์และฐานะอันสำคัญในประวัติศาสตร์ทางวรรณคดีไทย-จีนของท่านเหนียนล่าเหมยมากยิ่งขึ้น In the end of 19th century and the first half of 20th century, China explored the way for national development with hardships. Thailand was intimidated by western colonial countries and came into the period of nationalism conscioudness. Thai Chinese literature had vividly reflected inconstant history of Thailand. Thai Chinese writers reflected the natural essence of Thai people with their great humanity and exquisite artistic skills. Nian Lamei was one of those great Thai Chinese writers. She had done a great deal of outstanding works full of artistic charm and historic value rely on the insincere sympathy to working people and the sense of mission and responsibility from her deep heart. Her literature works mainly reflected the natural essence of working people at the bottom of the society, the contradiction and conflict betweeb workers and small-scale industry ownersm as well as the female's social status and living condition. Nian Lamei's literature had reached a prominent achievement in Thai Chinese literature in the 20th century. Nian Lamei had formed her unique writing style. Her literature themes, thought tendency and artistic styles shows lots of similarities with Chinese modern writer Lao She. This thesis applies the comparative literature method to analyze the classical works of Thai Chinese writer Nian Lamei and Chinese modern writer Lao She. In the aspects of their life background, their novel characters construction and image, description techniques, as well as their religions. Thus draw the conclusion through comparative analysis. Literature reflects life, through investigationg how Chinese traditional traditional culture and modern literature influence on Thai Chinese writers. It is found that Thai culture take root of Chinese traditional culture and Chinese literature. Meanwhile, it combines with Thai local culture and forms a unique literature. The thesis found out the similarities and differences between Nian Lamei and Lao She through comparison and analysis of the two great writers. It alap showed that Nian Lamei's realism creation has beeb a great achievement and taken the important position in the Thai Chinese literature history. 十九世纪末至二十世纪上半叶,在中国痛苦地探索民族解放进步道路的同时,泰国也在西方列强的持续威逼下进入民族主义的自觉时期。泰国华文文学创作是泰国社会风云变迁的忠实记录,泰华作家们以他们博大的人道情怀和精湛的艺术功力,形象地呈现了这一时期泰国人民的苦难人生。 在这一泰华作家群体中,年腊梅是一位杰出的代表。她怀着对劳动人民深切的同情及自己内心强烈的使命感和社会责任感,在动荡险恶的政治背景和艰难困苦的生存环境下凭着对中国和泰国那份深切的爱,历尽艰辛,坚忍不拔地创作了极具艺术魅力和历史价值的优秀作品。她的文学创作主要反映的是生活在底层社会的劳动人民的生活本质,工人和小工业主之间的矛盾和斗争,以及女性的社会地位和生存形态的描绘。 笔者认为年腊梅的小说在二十世纪泰华文学史上有突出的成就,形成了自己独特的风格。她的创作题材,思想倾向,艺术风格与中国现代作家老舍有众多相同之处。本文运用比较文学的方法分析泰国华文作家年腊梅和中国现代著名作家老舍的传世经典作品,从两位作家的身世背景,笔下人物形象塑造及描写手法,思想意蕴,宗教信仰等方面入手,进行细致的比较分析。 文学即是反映生活,探究中国传统文化与中国现代文学对泰华作家的影响以及作品的社会价值和艺术价值,有着重大的现实意义和深远的历史意义。泰华文学把中国文化和中国文学的优秀传统植根于泰国的土壤,与泰国文化相结合,形成了世界华文文学中独特的风景线。本文通过对两位作家进行比较研究分析,找出年腊梅与老舍文学创作的相同点与不同点, 从而更深入地理解年腊梅现实主义创作的成就及其在泰华文学史上具有重要地位。 |
Description: | Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2010 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/537 |
Appears in Collections: | College Of Chinese Studies - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
TableofContents.pdf | 145.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 668.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf Restricted Access | 702.18 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter3.pdf Restricted Access | 696.82 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
References.pdf | 420.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.