Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/538
Title: | 从泰华文学看中泰民俗文化的价值 |
Other Titles: | การมองคุณค่าทางวัฒนธรรมจากการผสมผสานของวรรณกรรมไทย-จีน An Analysis of Perspective on Cultural Values in Thai-Chinese Literary Works |
Authors: | 纪秀生 Ji, Xiusheng 纪秀生 郑燕燕 Zheng, Yanyan |
Keywords: | วรรณกรรมจีน -- ประวัติและวิจารณ์ Chinese literature -- History and criticism การศึกษาข้ามวัฒนธรรม Cross-cultural studies การวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis (Communication) วรรณกรรมไทย-- ประวัติและวิจารณ์ Thai Literature -- History and criticism 中国文学 -- 历史与批评 跨文化教育 内容分析 泰国文学 -- 历史与批评 |
Issue Date: | 2010 |
Publisher: | Huachiew Chalermprakiet University |
Abstract: | วรรณกรรมไทย จีน มรดกทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานกันของพื้นฐานแห่งวัฒนธรรมพื้นถิ่นกับวัฒนธรรมของลูกหลานมังกรที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ประเพณีวัฒนธรรมไทยจีนได้ผสมกลมกลืนจนส่งผลก่อให้เกิดการไปมาหาสู่กันด้วยมิตรไมตรีอันดีต่อกันเป็นเวลายาวนาน จนเกิดวรรณกรรมไทยจีนขึ้น 20 กว่าปีมานี้วรรณกรรมไทยจีนมีเนื้อหาหลักเน้นไปในเรื่องความเศร้าและความหลังที่ต้องจากบ้านเกิด ได้เปลี่ยนมาเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่มากยิ่งขึ้น และด้วยความโดดเด่นและชัดเจนของความเป็นพื้นถิ่น ได้กลายเป็นที่สนใจของชาวโลกที่นับวันมากยิ่งขึ้นคุณภาพในงานเขียนก็นับวันเป็นที่ยอมรับของผู้คนในวงการนักเขียนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ดังนั้นงานวิจัยของผู้เขียนเรื่องนี้จึงวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ได้รับจากมุมมองแปลกใหม่ของงานเขียนหรืองานสร้างสรรค์จากเรื่องราวทางประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนผลกระทบที่ก่อให้เกิดงานเขียนนั้นๆ โดยมองผ่านเรื่องราวในวรรณกรรม ผลกระทบดังกล่าวได้รวมไปถึงงานเขียนที่มีเนื้อหาเน้นไปในเรื่องของสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ในงานวิจัยนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์ 3 ด้านด้วยกัน คือ 1. กรณีศึกษางานเขียนไทยจีนที่สะท้อนให้เห็นถึงประเพณีพื้นถิ่น รวมทั้งการผสมผสานของวรรณกรรมไทยจีน ทั้งนี้ เพื่ออธิบายถึงเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนและความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของวรรณกรรมไทยจีน 2. วิเคราะห์นักเขียนและงานเขียนที่เน้นไปในเรื่องประเพณีวัฒนธรรม และการคัดสรรค์เนื้อหาที่นำมาสร้างสรรค์งานเขียน 3. พรรณนาถึงการผสมผสานของวัฒนธรรมประเพณีของสองชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อการผสมกลมกลืนของสังคม จนทำให้นักเขียนปรับเปลี่ยนและยอมรับในวัฒนธรรมใหม่ ตลอดจนมุมมองที่แตกต่างจนนำมาซึ่งปัญหาในสังคม และจากผลกระทบและปัจจัยนานัปการนี้ ได้สะท้อนออกมาในด้านเนื้อหาของงานเขียนที่มีหลากหลายรสชาติ ทำให้เพิ่มอรรถรสแก่ผู้อ่านได้มากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันเนื่องจากนักเขียนงานวรรณกรรมมีเรื่องราวทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สามารถแสดงออกได้อย่างหลากหลาย การถ่ายทอดความรู้สึกและความเข้าใจในเรื่องความงามตามรสนิยมส่วนตนที่ซ่อนเร้นอยู่ได้ถูกแสดงออกมาในรูปแบบการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยเหตุดังกล่าวงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจึงมีความแปลกใหม่ที่มีความเป็นพื้นถิ่นมากขึ้น ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจมากยิ่งขึ้น มีเนื้อหาสาระที่ชวนให้ติดตามมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการวิเคราะห์ให้เห็นถึงความงามของประเพณีวัฒนธรรมที่มีต่อประชาชน สังคม ประเทศชาติทำให้นำมาซึ่งคุณค่าเรื่องความดีงามของสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพราะประเพณีชีวิตความเป็นอยู่ คือ สัญลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ เป็นดอกไม้ที่งดงามของมนุษยชาติทั้งยังเป็นจิตวิญญาณของชาติพันธุ์และเป็นมรดกที่แสดงถึงความรุ่งเรืองที่เป็นบ่อน้ำที่ให้งานสร้างสรรค์ทางวรรณกรรมได้อย่างไม่มีวันเหือดแห้ง Thai-Chinese literary works are part of the cultural heritage that stems from the blend of local culture and th culture of Chinese immigrants to Thailand. The assimilation of the Thai and Chinese cultures has resulted in good and freindly communication for many years. And as a result, Thai-Chinese literary works have been created. For the past 20 years, most Thai-Chinese literary works, which used to be concerned with the nostalgia for their hometown, ahve gradully changed to the illustration of the new habitat. The unique and vivid descriptions of the scenes of life have drawn the attention of people around the world, and the high quality of these literary woks has been well-accepted in the writing arena, as well. The objective of this research is to analyze the benefits that may be gained from the whole new views of these literary works depicting traditions and way of life, including society and the evvironment. Moreover, the researcher has also examined these works to find out how environment. Moreover, the researcher has also examined these works to find out how such factors influence the writing. This research consists of the analysis of three aspects: 1. A case study of Thai-Chinese literary works reflecing local traditions including the blend of Thai-Chinese literary works, in order to explain ways of life and the close relationship of Thai and Chinese; 2. The analysis of the writers and their works, with an emphasis on traditions, cultures and the selection of topic for writing; 3. The illustration of the blend of traditions and cultures between the twoo ethnic groups resulting in social assimilation. From this phenomenon, the writers have adapted themselves and accepted this new culture, whereas different viewpoints may lead to social problems. These effects and factors are reflected in various types of literary works based on different topics and styles of writing, which enhance the readers' appreciation. Since the writers have different life experiences, in addition to their personal tastes and their ways of conveying their feelings and understaning, the quality of uniquences and a sense of local color, as well as interesting content, make the literary works more moving and touching. The researcher has also analyzed the value and effect of traditions and cultures upon people, society and the nation, which will bring forth the value of goodness in society and the economy. As a whole, tradition and ways of life are the symbol and spirit of ethnicity, the beautiful flower of human race, and the heritage represents the cultural glory, which is like a well for the creation of literary works which is always full. 泰华文学是移居泰国的炎黄子孙继承中华传统文化基因与本土文化相融合的产物。中泰两个民族的文化交融又是促进两国人民友好交往和滋生泰华文学的催化剂。二十多年来,泰华文学改变以往沉重的离愁别绪主旋律,以鲜明的本土色彩和独特的个性越来越受到世人注目,作品的质量也越来越受到国内外同行的肯定。本文的研究有别于其他学者研究泰华文学的课题,以全新的文学角度审视、考察民情风俗在泰华文学创作中所起的作用,以及产生的影响。 本文从三个方面进行论证分析:第一,分析泰华文学中有关反映中华民俗和本土民俗以及中泰民俗交融的文本,以说明民情风俗与泰华文学的密切关系;第二,分析作家和作品人物对民俗文化的态度和选择;第三,阐述两种民俗文化交融促进社会和谐的作用,讨论文学创作者改变文化身份以及文化认同等问题,评析泰华文学作品丰富而广泛的内涵。同时,由于创作者有了民情风俗作为表达自己情感以及个人审美情感孕育出的表象和意象这一载体,所以才使文学作品更有地方特色,更加有血有肉,更加引人入胜。此外本文也剖析了优良的民情风俗给国家和民众带来良好的社会风尚及其经济价值。民俗文化是民族的标志,人类的花朵,也是各国各民族人民的精神和物质财富,更是文学创作取之不尽的源泉。 |
Description: | Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2010 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/538 |
Appears in Collections: | College Of Chinese Studies - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 161.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
TableofContents.pdf | 44.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf Restricted Access | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter3.pdf Restricted Access | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
References.pdf | 420.81 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.