Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/578
Title: 金锁情与爱锁心 ——《金锁记》与《画中情思》中悲剧女性形象分析
Other Titles: วิเคราะห์ภาพลักษณ์ตัวนางในนวนิยาย "จินสั่วจี้" ของ จางอ้ายหลิง กับ "ข้างหลังภาพ" ของศรีบูรพา
The Emotion Locked by Gold and the Heart Locked by Love : the Comparative Analysis of Tragic Feminine Image in Zhang Ailing' s Jin Sou Ji and Sriburapha's behind the Painting
Authors: 徐华
Xu, Hua
สวี, ฮว๋า
郑睿
ศนิชา ทัศนสว่างคุณ
Keywords: ศรีบูรพา -- ประวัติและวิจารณ์
Sriburapha -- History and criticism
Zhang, Ailing -- History and criticism
จาง, อ้ายหลิง -- ประวัติและวิจารณ์
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
สตรีในวรรณกรรม
Women in literature
文学中的女性
ตัวละครและลักษณะนิสัย
Characters and characteristics
ความรักในวรรณกรรม
Love in literature
วรรณคดีเปรียบเทียบ
Comparative literature
文学中的女性
角色和性格
内容分析
对文学的热爱
比较文学
Issue Date: 2009
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: 中国现代女性作家张爱玲与泰国现代文学奠基人、作家西巫拉帕(古腊•赛巴立的笔名),分别在《金锁记》和《画中情思》中塑造了曹七巧和吉拉蒂这两个不同的悲剧女性形象。女性形象在不同作家笔下有不同的展示。在众多女性形象中成功地描写悲剧女性形象的作品,往往更能打动读者,更能深入地揭示造成这些悲剧的社会环境,家庭影响,传统道德思想,身份地位以及人物性格等对作品中悲剧女性的多重影响因素。在《金锁记》中,张爱玲成功地打造了曹七巧这个悲剧性的中国女性形象。她是一个出身低微,婚姻不幸,情感暧昧,从无爱而婚,借婚求财,到嫉妒真爱,心理变态,被金银财宝锁住心灵的女性,最后在无爱中残度晚年,以悲剧的一生结束了自己的生命。而在《画中情思》中,西巫拉帕用抒情的手法刻画了吉拉蒂这个泰国悲剧女性的形象。与曹七巧不同的是她生活中缺少的不是金钱和地位,而是真正的爱情和婚姻。她没有像曹七巧那样在无爱中被金银锁住了爱,被扭曲的生活锁住了女性生活中的愉悦,而是在贵族式的生活中封闭了自我,被贵族生活锁住了对爱的大胆追求,被封建礼教的鸟巢锁住了飞向自由和真爱的蓝天。最终在只有自己爱的人,却没有得到被爱的凄风悲雨中离开了人间。本论文的目的和意义在于比较分析这两部作品,揭示在不同文化和社会的背景下,在封建礼教,传统思想和旧的社会伦理道德的束缚和影响下,所造成的作品中两个不同女性的不同遭遇,以及产生悲剧性结局的社会原因,探讨这两部作品中女主人公的心理活动和思想意识,并通过分析作品中的女性形象对比中泰现当代文学中所表现出的现实主义的描写手法和创作风格。本论文在第一章中对《金锁记》与《画中情思》的创作进行了比较分析,分析了他们不同的创作背景,不同的创作视角和不同的文化语境。在第二章中,本文这两部作品中的女性形象进行了比较。在这一章中对曹七巧和吉拉蒂进行了身世比较,处世比较和知性比较。在第三章中,本文分析了作品中女主人公的女性意识,分别分析了曹七巧与吉拉蒂的爱情意识,婚姻意识和悲情意识。张爱玲和西巫拉帕在创作上既有一些共同点和又有各自的特点。他们的文学创作反映出他们不同的文学视角,文化色彩,思想意识,人生态度和民族特点。如果说张爱玲的小说创作是中国文化,上海特色和市民话语的一个代表和展示的话,那么西巫拉帕的小说创作就是泰国文化,曼谷特色,大众话语的代表和体现。张爱玲的小说《金锁记》从表面上看,是在描写一个似乎爱财如命,见利忘义,六亲不认的女人。实际上,在她锁金的背后,我们看到的是曹七巧的悲情和无奈。她在用金锁情,用到手的金来代替失去的情。金与情在曹七巧那里实际上已融为一体。从《金锁记》中我们看到了曹七巧从情“锁”婚,到金“锁”情的悲剧一生。与曹七巧不同,吉拉蒂是出身王室嫁给了有钱有地位、丧妻不久年过半百的男人。她在无爱的婚姻中遇到了有爱的婚外情,但她因为自己的年龄、已婚身份和传统思想却在表面上拒绝了这个婚外情。最后她在不断压抑和涌起的爱情漩涡中把自己埋葬了。吉拉蒂从无爱到有爱,从无情有情,从而走完了从情“锁”爱到爱“锁”心的悲情一生。通过分析我们可以看到有关《金锁记》所反映的悲剧意识和女性悲剧形象的研究是多方面的。这反映出张爱玲的小说《金锁记》文学价值的普遍性和文学形象的典型性。通过对曹七巧的形象和悲剧色彩和吉拉蒂的悲剧女性形象进行对比分析,我们可以看到是具有文学价值和社会意义的。本论文的创新性和研究的理论意义在于首次把张爱玲的小说《金锁记》与泰国作家西巫拉帕的小说《画中情思》的不同的女性形象进行对比分析,从中分析这两部小说中的女性形象的共性与特性,从文学作品中把握这两个女性的文学形象,揭示文学作品中这两个女性悲剧形象所反映的思想意识,伦理道德,传统思想和封建礼教对她们人生命运的影响,从而探讨多元文化下泰中文学在塑造悲剧女性形象上的文学特点和描写手法上的不同。本论文主要分析了作品中悲剧女性在封建社会的传统道德和礼教的桎梏下,在爱情、婚姻、家庭、伦理道德以及金钱财富等方面,是怎样一步一步地走向悲剧的内在原因和外在的影响因素。本论文主要采用对比分析的方法,比较这两个作品中女主人公在爱情婚姻上的悲剧,并从她们的悲剧中分析在她们身上所反映的女性意识,封建礼教和传统道德思想,以及她们的生活周边环境等多种因素对她们的影响作用。本论文研究的创新点在于通过首次比较分析张爱玲《金锁记》中的曹七巧与西巫拉帕《画中情思》中吉拉蒂的女性形象和悲剧情节,从中探讨泰中现当代文学中女性文学方面的文学特点和社会意义,分析研究在不同文化和民族的背景下悲剧女性的思想意识和心理特征,从而揭示不同文化背景下,不同女性文学作品所反映出的共同文学价值和思想意义。
จางอ้ายหลิงนักเขียนหญิงสมัยใหม่ของจีนและศรีบูรพานักเขียนผู้วางรากฐานวรรณคดีสมัยใหม่ของไทยต่างได้สร้างภาพลักษณ์สตรีแนวโศกนาฏกรรมที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ภาพลักษณ์สตรีของเฉาชีเฉี่ยวในเรื่อง “จินสั่วจี้” (บันทึกตรวนทอง) และภาพลักษณ์สตรีของกีรติ ในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ได้ถ่ายทอดออกมาแตกต่างกันเนื่องจากนักเขียนต่างบุคคลกัน งานเขียนที่บรรยายภาพลักษณ์สตรีในแนวโศกนาฏกรรมในหมู่ภาพลักษณ์สตรีจำนวนมากมายที่ประสบความสำเร็จมักจะสร้างความสะเทือนใจอย่างมากแก่ผู้อ่าน อีกทั้งสามารถเผยให้เห็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโศกนาฏกรรมของตัวละครหญิงนั้นได้อย่างลึกซึ้ง เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม อิทธิพลจากครอบครัว แนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรม ฐานะทางสังคมและลักษณะนิสัยของตัวละคร เป็นต้นเรื่อง “จินสั่วจี้” จางอ้ายหลิงได้สร้างเฉาชีเฉี่ยวเป็นตัวละครหญิงแนวโศกนาฏกรรมที่เกิดมาต้อยต่ำ ชีวิตแต่งงานล้มเหลว เก็บงำความรู้สึก แต่งงานเพื่อเงินไม่ใช่เพื่อความรัก จนกลายเป็นคนเกลียดรักแท้ จิตวิปริต ถูกเงินทองครอบงำ สุดท้ายชีวิตที่อาภัพมาตลอดของเธอก็จบลงอย่างย่ำแย่ในวัยชราและขาดความรักส่วนเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ศรีบูรพาบรรจงสร้างภาพตัวละครกีรติผ่านการบรรยายความรู้สึก กีรติไม่เหมือนกับเฉาชีเฉี่ยวซึ่งเป็นคนที่ขาดแคลนเงินทองและฐานะ ทว่าเธอกลับขาดรักแท้และการแต่งงานที่แท้จริง กีรติไม่ได้ถูกพันธนาการความรักที่ไร้หัวใจด้วยเงินทอง ความสุขในชีวิตหญิงสาวถูกกีดกั้นด้วยชีวิตที่ผกผัน เธอปิดกั้นตนเองอยู่ในชีวิตแบบชนชั้นสูง ถูกชีวิตชนชั้นสูงปิดกั้นการแสดงความรักอย่างอาจหาญ ถูกกรงทองแห่งศีลธรรมจรรยาและศักดินากักขังไม่ให้โบยบินสู่ท้องฟ้าแห่งอิสรภาพและรักแท้ ในที่สุดเธอก็จากโลกนี้ไปอย่างเดียวดายโดยที่มีเพียงคนที่เธอรักแต่ปราศจากคนที่รักเธอวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบและแสดงคุณค่าของงานเขียนทั้งสองชิ้นนี้ โดยแสดงให้เห็นถึงชะตากรรมที่ต่างกัน อันเป็นผลมาจากศีลธรรมจรรยา คตินิยม และคุณธรรมจริยธรรมของสังคมเก่า และแสดงถึงเหตุผลทางสังคมที่ทำให้เกิดจุดจบแห่งโศกนาฏกรรม พิเคราะห์สภาพจิตใจและความคิดของนางเอกในสองเรื่องนี้ อีกทั้งเปรียบเทียบโวหารและลีลาการเขียนแนวอัตถนิยมที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยและจีน โดยผ่านภาพลักษณ์สตรีในงานเขียนที่วิเคราะห์บทที่หนึ่งของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบภูมิหลัง มุมมอง และบริบททางวัฒนธรรมที่ต่างกันในการสรรสร้างงานเขียน “จินสั่วจี้” และ “ข้างหลังภาพ”บทที่สอง เปรียบเทียบภาพลักษณ์สตรีในงานเขียนทั้งสองเรื่องนี้ โดยเปรียบเทียบด้านชีวิต สังคม และสติปัญญาของเฉาชีเฉี่ยวและกีรติบทที่สาม วิเคราะห์ทัศนคติของผู้หญิงในเรื่องความรัก การแต่งงาน และความเศร้าสลดรันทดของเฉาชีเฉี่ยวและกีรติซึ่งเป็นนางเอกของเรื่องจางอ้ายหลิงและศรีบูรพามีทั้งจุดเหมือนและจุดเด่นของตนเองในการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานของพวกเขาสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองวรรณคดี สีสันทางวัฒนธรรม ทัศนคติ ท่าทีที่มีต่อมนุษย์และลักษณะเด่นทางชนชาติที่ต่างกัน ถ้าหากพูดว่าการสร้างสรรค์นิยายของจางอ้ายหลิง ซึ่งเป็นตัวแทนของการสะท้อนวัฒนธรรมจีน ลักษณะพิเศษของเซี่ยงไฮ้และภาษาของคนเมืองแล้ว การสร้างสรรค์นิยายของศรีบูรพาก็เป็นภาพลักษณ์และตัวแทนของวัฒนธรรมไทย ลักษณะพิเศษของกรุงเทพฯและภาษาของมหาชนเช่นกันจากการอ่านเรื่อง “จินสั่วจี้” นวนิยายของจางอ้ายหลิง เป็นงานที่พรรณนาถึงลักษณะของผู้หญิงที่รักทรัพย์สมบัติยิ่งชีพ เห็นแต่ประโยชน์ของเงินจนลืมคุณธรรมและไม่รักญาติพี่น้อง ในความเป็นจริง เบื้องหลังตรวนทองของเธอ พวกเราจะได้เห็นความเศร้าสลดรันทดและความจำยอมอย่างจำใจของเฉาชีเฉี่ยว เธอกำลังใช้เงินทองมากักขังความรัก และใช้เงินทองที่มีอยู่ในมือมาทดแทนความรักที่สูญเสียไป เงินทองกับความรักสำหรับเฉาชีเฉี่ยวได้หล่อหลอมจนเป็นสิ่งเดียวกัน จากเรื่อง “จินสั่วจี้” จะได้เห็นโศกนาฏกรรมในชีวิตของเฉาชีเฉี่ยวตั้งแต่ที่เธอใช้ความรัก “กักขัง” การแต่งงาน จนถึงใช้เงินทอง “กักขัง” ความรักกีรติต่างกับเฉาชีเฉี่ยว เธอเกิดในราชนิกูลและสมรสกับชายพ่อหม้ายวัยห้าสิบเศษ ที่มีฐานะร่ำรวย ภรรยาเพิ่งถึงแก่กรรม เธอพบชายที่เธอรักในขณะที่เธอได้แต่งงานไปกับชายที่ไม่ได้รักไปแล้ว แต่การที่เธอต้องแสดงท่าทีปฏิเสธชายที่เธอรักนั้น เพราะเธออายุมากกว่า แต่งงานแล้วและถูกปลูกฝังมา ในที่สุดเธอก็ได้ฝังตัวเองอยู่ในวังวนแห่งความรักที่ถูกเก็บกดจนเอ่อล้นตลอดเวลา กีรติกลับกลายเป็นผู้ที่มีความรู้สึกและความรัก แต่หลังจากนั้นก็จบชีวิตอันรันทดโดยความรักถูกความรู้สึก “กักขัง” และจิตใจถูกความรู้สึก “กักขัง” ความรักจากการวิเคราะห์เราจะเห็นได้ว่างานวิจัยที่สะท้อนความโศกเศร้าและภาพโศกนาฏกรรมของสตรีในเรื่อง “จินสั่วจี้” นั้นมีหลายด้าน สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะทั่วไปของคุณค่างานวรรณกรรมของนวนิยาย “จินสั่วจี้” และเป็นแบบฉบับของรูปแบบของวรรณกรรมของจางอ้ายหลิง จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพลักษณ์สตรีแนวโศกนาฏกรรมของเฉาชีเฉี่ยวและกีรติ พวกเราจะเห็นถึงคุณค่าทางวรรณกรรมและความหมายต่อสังคม การริเริ่มสร้างสรรค์และคุณค่าทางทฤษฎีวิจัยของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้อยู่ที่เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง “จินสั่วจี้” ของจางอ้ายหลิงและในนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ของศรีบูรพาเป็นครั้งแรก โดยวิเคราะห์ลักษณะร่วมและลักษณะพิเศษของภาพลักษณ์สตรีในนวนิยายสองเรื่องนี้ รูปลักษณ์ทางวรรณกรรมของสตรีทั้งสองแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อชะตาชีวิตของพวกเธออันเกิดจากความคิด คุณธรรมจริยธรรม คตินิยมและศีลธรรมจรรยาที่สะท้อนจากโศกนาฏกรรมของหญิงสาวทั้งสองนี้ และพิเคราะห์ความต่างของจุดเด่นวรรณกรรมและวิธีบรรยายเพื่อสร้างภาพลักษณ์สตรีแนววรรณคดีไทยจีนภายใต้วัฒนธรรมที่หลากหลาย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เน้นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายในและภายนอกอันส่งผลให้ความรักการแต่งงาน ครอบครัว คุณธรรมจริยธรรมและความมั่งคั่งของหญิงสาวผู้ประสบโศกนาฏกรรมในเรื่องค่อย ๆ ย่ำแย่ลงได้อย่างไร ภายใต้พันธนาการของขนบจารีตและศีลธรรมจรรยาในสังคมศักดินาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นหลัก โดยเปรียบเทียบโศกนาฏกรรมด้านความรักและการแต่งงานของตัวเอกทั้งสองในเรื่อง พร้อมทั้งวิเคราะห์ทัศนคติของผู้หญิง ศีลธรรมจรรยาและแนวคิดด้านคุณธรรมจารีตที่สะท้อนจากตัวละครทั้งสองในโศกนาฏกรรม รวมถึงผลกระทบของพวกเธออันเกิดจากปัจจัยหลายอย่างเช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นต้น จุดริเริ่มสร้างสรรค์การวิจัยของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้อยู่ที่เป็นครั้งแรกที่ได้มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพลักษณ์สตรีและลำดับขั้นในการเกิดโศกนาฏกรรมของเฉาชีเฉี่ยวในเรื่อง “จินสั่วจี้” ของจางอ้ายหลิงและของ กีรติในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ของศรีบูรพา และจากสิ่งนี้ก็ได้พิเคราะห์จุดเด่นทางวรรณกรรมและคุณค่าทางสังคมในเชิงวรรณกรรมของสตรีในวรรณคดีสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยและจีน ศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดและลักษณะพิเศษทางจิตใจของหญิงสาวในแนวโศกนาฏกรรมที่มีภูมิหลังทางชนชาติต่างกัน และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางวรรณกรรมและแนวความคิดที่เหมือนกันซึ่งสะท้อนจากวรรณกรรมสตรีที่ต่างเรื่องกันภายใต้ภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน
The title of the paper is The Love Locked by Gold and the Heart Locked by Love. The purpose of the paper is to analyze and discuss Zhang Ailing’s fiction Jin Suo Ji and Sriburabha’s fiction Behind the Painting. Zhang Ailing is the modern female author of China. Sriburabha is the modern male author of Thailand. They separately figure the both of female, Cao Qiqiao and Keerati in their fictions of Jin Suo Ji (Record of a Golden Lock) and Behind the Painting.The paper compares and analyzes the two works, open out the both of female’s different sadness under the different social background, feudal ethical code and traditional idea ethic moral, point out the social reason producing the sadness, discuss the mental activity and ideaistic consciousness, and through analyzing the two image of women of Cao Qiqiao and Keerati to contrast realistic delineation and producing style in the modern and contemporary literature of both China and Thailand.In the first chapter, the paper compares and analyzes the different producing background, different producing angle of view and different cultural language environment in Jin Suo Ji and Behind the Painting.In the second chapter, the paper compares and analyzes Cao Qiqiao and Keerati’s life experience, philosophy of life and intellectuality.In the third chapter, the paper analyzes women consciousness of dramatis personae including their consciousness of love, consciousness of marriage and consciousness of pathos.The content of the paper is to mainly analyze the two works’ literal value and social meaning, discuss the internal and exterior reason that the two women dramatis personae how to walk up to their tragedy.The new point of the study is that the paper first discusses literal traits and social meaning of women’s literature between modern and contemporary literature of China and Thailand, studies ideology and psychological characteristics under different cultural and ethical background of China and Thailand.
Description: Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2009
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/578
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf643.42 kBAdobe PDFView/Open
TableofConts.pdf696.95 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf780.43 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf708.23 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf847.58 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf747.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.