Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/594
Title: 泰国华文小说的农民题材之研究
Other Titles: การศึกษาหัวข้อเรื่องสั้นชนบทของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทย
A Study of Agriculturist Subjects in Chinese Novels from Thailand
Authors: 陈旋波
เฉิน, เสวียน ปอ
Chen, Xuanbo
潘珊珊
สศิกุล พิทักษ์นิติกร
Keywords: วรรณกรรมจีน -- ประวัติและวิจารณ์
Chinese literature -- History and criticism
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
ชาวนา -- ไทย
Farmers -- Thailand
เรื่องสั้นจีน
短篇小说
Chinese fiction
สังคมชนบท -- ไทย
中国文学 -- 历史与批评
内容分析
农民 -- 泰国
中国短篇小说
农村社会 -- 泰国
Issue Date: 2010
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: เรื่องสั้นชนบทมีความสำคัญในวงการวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทยเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม การวิจัยค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวกับชนบทของวรรรกรรมภาษาจีนในประเทศไทย กลับมีน้อยมาก หรือแทบจะเรียกได้ว่า ไม่มี กระทั่งทุกวันนี้ ในวงการศึกษายังไม่มีการค้นคว้าวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมชนบทของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทยอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เรื่องสั้นชนบทของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทย โดยทำการศึกษาจากเรื่องสั้นชนบทของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทยจำนวน 38 เรื่อง แบ่งเป็นเรื่องสั้นจำนวน 37 เรื่อง และเรื่องสั้นขนาดยาว 1 เรื่อง เพื่อวิเคราะห์อธิบายเนื้อหาที่เรื่องสั้นเหล่านี้ได้สะท้อนออกมาและเอกลักษณ์ร่วมในรูปแบบการประพันธ์ของเรื่องสั้นชนบทเหล่านี้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จะวิเคราะห์ให้เห็นถึงลักษณะและปัญหาของสังคมชนบท ความคิดเห็นของผู้ประพันธ์ที่มีต่อสังคมชนบท และแนวโน้มของกระแสรูปแบบการประพันธ์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนหน้ากระดาษของเรื่องสั้นเหล่านี้ จากการค้นคว้า ผู้วิจัยได้แบ่งสาระสำคัญของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ออกเป็น 4 บท ดังนี้ บทที่ 1 อธิบายถึงลักษณะเด่นของสังคมชาวนาที่ปรากฏในเรื่องสั้นชนบทของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทย โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์เอกลักษณ์ต่างๆ ของสังคมชนบทไทยและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาไทย ซึ่งปรากฏให้เห็นในเรื่องสั้นอย่างละเอียดลึกซึ้ง บทที่ 2 วิเคราะห์ปัญหาของสังคมชนบทไทยในยุคแรกๆ ซึ่งได้สะท้อนอยู่ในเรื่องสั้นเกี่ยวกับชาวนาไทยของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทย โดยอธิบายให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความยากจน ความล้าหลังของสังคมชนบท ชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบาก ทุกข์ยากและทุกข์ทรมานจากการกดขี่ข่มเหงในรูปแบบต่างๆ ของเกษตรกรชาวไทยที่สะท้อนอยู่ในเรื่องสั้นเหล่านี้ บทที่ 3 วิเคราะห์ปัญหาสังคมชนบทไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องสั้นชนบทของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทย โดยอธิบายอย่างเจาะลึกซึ้งถึงผลกระทบของยุคโลกาภิวัฒน์ และอิทธิพลของการขยายตัวของสังคมเมืองต่อสังคมชนบท ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องสั้นชนบทของวรรรกรรมภาษาจีนในประเทศไทย ซึ่งนวนิยายเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นว่ายุคโลกาภิวัฒน์ทำให้สังคมชนบทต้องเผชิญกับการถูกกลืน ถูกทอดทิ้งและการล่มสลาย และยังทำให้ชีวิตของชาวนาไทยต้องพบกับความยากจนและความยากลำบากมากยิ่งขึ้น รวมถึงวิเคราะห์ทางออกของปัญหาสังคมชนบทที่นักประพันธ์ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยได้นำเสนอได้อยู่ในเรื่องสั้นชนบทเหล่านี้ บทที่ 4 วิเคราะห์แนวโน้มกระแสรูปแบบการประพันธ์เรื่องสั้นชนบทของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทย โดยบทนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ ส่วนแรก คือ การวิเคราะห์การใช้มุมมองต่างๆ ในนวนิยายและผลลัพธ์ต่างๆ ที่ได้จากการใช้มุมมองนั้นๆ ในการประพันธ์ ส่วนหลังคือ การวิเคราะห์รูปแบบการประพันธ์และผลลัพธ์ต่างๆ ที่ได้จากการใช้รูปแบบการประพันธ์นั้นๆ ในเรื่องสั้นชนบทของวรรณกรรมภาษาจีนในประเทศไทย
The subject of agriculturalist has played an important role in Thai-Chinese literature. However, the research on the subject of agricuturalist in Thai-Chinese literature has remained seldom. So far, in academia, there is no such complete and systematic aims to analyze the subject of agriculturalist in Thai-Chinese short stories. In order to study the subject matter, 37 short stories, and 1 long-length short of Thai-Chinese agriculturalist short stories have been analyzed to explore their hidden messages and their arts of writing, which reveal the characteristics and problems in rural society, as well as trends of art of writing and their expressive effects, presented in the short stories. As the result, I have divided this thesis into 4 major chapters. Chapter one aims to reflect the distinctibe characteristics of agriculturalist society found in Thai-Chinese short stories by carefully analyzing various distinctive aspects of Thai rural society's pattern and unique styles of living of Thai agriculturalists, which have been presented in the short stories. Chapter two is to analyze the rural society's early problems as reflected in Thai-Chinese agriculturalist short stories, profoundly revealing Thai rural society's poor and underdeveloped aspects, agriculturalists living in poverty, misery and suffering from various kinds of opperession and torment, which have been presented in the short stories. Chapter Three is to analyze problems of Thai rural society in modernization period in Thai-Chinese agriculturalist short stories, deeply exploring the effects of modernization and urbanization to Thai rural society, revealing in modernization era Thai rural society has been abandoned and faced a declining, agriculturalists are leading more and more improverish and hand life, as well as representing the solutions for Thai rural society's problem suggested by Thai-Chinese authors. Chapter four is to analyze trends of the art of writing in Thai-Chinese agriculturist short stories. This chapter has been divided into two parts. First is to analyze the use of point of view in the short stories and their expressive effects. Later is to analyze the use of creative approached in the short stories and their expressive effects.
Description: Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2010
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/594
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf351.04 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf80.4 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf466.57 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf386.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf343.79 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf348.05 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf182.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.