Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/691
Title: 中泰古代民间传说的现代演绎 --电视剧《白蛇传》与电影《幽魂娜娜》比较研究
Other Titles: พัฒนาการตำนานพื้นบ้านจีน-ไทยในยุคปัจจุบัน : ศึกษาเปรียบเทียบบทละครเรื่อง "นางพญางูขาว" กับบทภาพยนตร์เรื่อง "นางนาก"
A Comparative Study of Chinese - Thai Folklores Currently Depicted in the Play "The White Serpent" and the Movie "Nang Nak"
Authors: 范军
Fan, Ju
ฟ่าน, จวิน
刘美春
เพ็ญฤดี เหล่าปทุมวิโรจน์
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Keywords: 中国文学
วรรณกรรมจีน
นิทานพื้นเมือง -- ไทย
民间故事 -- 泰国
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
内容分析
วรรณคดีเปรียบเทียบ
比较文学
Comparative literature
นิทานพื้นเมือง -- จีน
Folk literature, Chinese
民间故事 -- 中国
Issue Date: 2011
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: 中国是一个地大物博、历史悠久的国家,民间蕴藏着极为丰富的民族文化遗产。在这些文化遗产中,民间传说更是取得了丰硕的成果。《白蛇传》就是中国四大民间传说之一,是流传久远、妇孺皆知的民间文学作品,是一个具有深刻内涵、优美动人的民间传说。故事发生在宋朝时的杭州、苏州及镇江等地,描述了一个修炼成人形的蛇精与人的曲折爱情故事,反映了当时的社会生活、风俗习惯、思想道德观念以及民族文化精神等诸方面的内容。经历了八百年左右的口头和文本的传播,《白蛇传》至今还是传诵不衰。自古以来,泰国就是一个充满神秘色彩的国家,古灵精怪的故事传说非常多,《幽魂娜娜》就是其中一个著名的例子,被称作是泰国版的《白蛇传》。《幽魂娜娜》故事发生在百年前的拉玛四世统治的时期,当时的泰国是封建制度和奴隶制度并存的国家,科学并不发达,人们对鬼神普遍存在迷信的心理。当时的人民也受到佛教观念的深刻影响,佛教对泰国人的日常生活产生了强烈的影响,寺庙就是社会生活和宗教生活的中心。《白蛇传》与《幽魂娜娜》皆是在各自的国家流传久远的民间传说,分别描写了人妖之恋与人鬼之恋,表达了妖鬼对爱情的忠贞以及对人世生活的眷恋,同时两大传说也反映了当时社会的风俗习惯和道德观念,体现出中泰两国的民族文化精神。 本文运用了比较研究的方法。这两部影视剧是《白蛇传》和《幽魂娜娜》这两大传说的现代演绎,通过比较研究30集的连续剧《白蛇传》与电影《幽魂娜娜》去研究两者之间的异同和背后的深刻内涵。探讨故事类型类似的两个传说在情节结构、人物形象等方面的异同,这两个传说在现代影视剧中的发展演变,以及其中所反映出的两国民众的爱情观念、鬼神观念、道德伦理和宗教文化。本文的主体共分为三章。第一章,综述《白蛇传》与《幽魂娜娜》的故事渊源。阐述两部民间传说到电视剧的《白蛇传》与从民间传说到电影的《幽魂娜娜》,着重分析悲剧发生的缘由,论述封建礼教对两部影视剧的影响。第二章,对两部影视剧的人物形象之异同进行比较分析。在爱情观念、鬼神观念、道德伦理和宗教文化上的异同点进行深化研究。第三章,深入剖析《白蛇传》与《幽魂娜娜》所反映的宗教观。由两部影视剧的艺术形式,对两部影视剧中所承载的文化内涵也力图进行深入的探讨。
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล และอุดมไปด้วยทรัพยากรมากมาย มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ทั้งยังเป็นแหล่งรวมมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่อีกด้วย มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ตำนานพื้นบ้านนับเป็นดอกผลที่ค่อนข้างโดดเด่น โดยเฉพาะตำนานเรื่อง “นางพญางูขาว” ถือว่าเป็นหนึ่งในสี่เรื่องของตำนานพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของจีน เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่มีประวัติยาวนาน มีเนื้อหาลึกซึ้งและเป็นที่ประทับใจของชาวบ้านตลอดมา ตำนานดังกล่าว เกิดขึ้นสมัยราชวงศ์ซ่ง บริเวณพื้นที่มณฑลหังโจว ซูโจว และเจิ้นเจียง เล่าขานกันว่า ปีศาจงูตนหนึ่งได้บำเพ็ญเพียรจนสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์และได้พบรักกับปุถุชนคนธรรมดา เนื้อหาสะท้อนให้เห็นถึงสังคมและการดำเนินชีวิตในสมัยนั้น ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี แนวคิดทางคุณธรรมและจริยธรรม อีกทั้งวัฒนธรรมพื้นบ้านในด้านต่าง ๆ โดยแม้จะผ่านการบอกเล่าด้วยปากหรือถ่ายทอดเป็นตัวอักษรมาเป็นเวลาราวแปดร้อยปีแล้ว “นางพญางูขาว” ก็ยังเป็นตำนานเล่าขานจนถึงยุคปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย จากอดีตถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เต็มไปด้วยเรื่องราวเร้นลับ มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับนิทานหรือตำนานภูตผีปีศาจมากมาย “นางนาก” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับภูตผีปีศาจเรื่องหนึ่ง จึงเปรียบเหมือน “นางพญางูขาว” ฉบับภาษาไทย เรื่องราวของผี “นางนาก” อุบัติขึ้นราวร้อยปีที่แล้ว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ในสมัยนั้นประเทศไทยยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และยังมีระบบข้าทาสบริวาร วิทยาการด้านต่าง ๆ ยังไม่เจริญ ชาวบ้านมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์และภูตผีปีศาจ ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็ได้รับอิทธิพลจากการกล่อมเกลาทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งศาสนาพุทธมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในสมัยนั้นค่อนข้างมาก และวัดวาอารามก็เป็นศูนย์รวมของสังคมและศาสนาของชาวบ้านชาวเมือง “นางพญางูขาว” และ “นางนาก” ต่างเป็นตำนานพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของจีนและไทยมาเป็นเวลานาน มีเนื้อหาที่บรรยายถึงความรักระหว่างปีศาจกับมนุษย์ หรือผีสางกับปุถุชนคนธรรมดา ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงแก่นของความรักและความภักดีของภูตผีปีศาจ ตลอดจนความปรารถนาของมนุษย์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ในเวลาเดียวกัน ตำนานพื้นบ้านทั้งสองเรื่องนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม รวมถึงแนวคิดทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม อันเป็นสิ่งแสดงถึงจิตวิญญาณทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย - จีนทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบ โดยใช้ตำนานพื้นบ้านของจีนเรื่อง “นางพญางูขาว” ในรูปของบทละครโทรทัศน์ 30 ตอน และนิยายภูตผีเรื่อง “นางนาก” ในรูปของภาพยนตร์ไทย ซึ่งเป็นการนำเสนอในรูปแบบสมัยใหม่ โดยจะศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง รวมถึงภูมิหลังอย่างลึกซึ้ง พร้อมทั้งศึกษาภาพลักษณ์ของตัวละครของตำนานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และศึกษาตำนานที่ได้พัฒนาการผ่านบทละครโทรทัศน์และบทภาพยนตร์ในยุคปัจจุบันว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติในด้านความรัก ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ ศีลธรรมความถูกต้องและวัฒนธรรมทางศาสนาของผู้คนทั้งสองประเทศวิทยานิพนธ์ฉบับนี้แบ่งเป็นสามบทใหญ่ บทที่หนึ่ง วิเคราะห์สรุปความเป็นมาของตำนานพื้นบ้าน “นางพญางูขาว” และ “นางนาก” โดยศึกษารายละเอียดความเป็นมาจากตำนานพื้นบ้าน “นางพญางูขาว” จนก้าวเข้าสู่รูปของบทละครโทรทัศน์ และความเป็นมาของนิยายภูตผี “นางนาก” จนกระทั่งก้าวเข้าสู่รูปของภาพยนตร์ไทย เน้นการวิเคราะห์ถึงมูลเหตุแห่งการเกิดโศกนาฏกรรม บทสรุปของอิทธิพลที่ได้รับในจริยธรรมของสังคมศักดินา บทที่สอง เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของตัวละครจากตำนานพื้นบ้านทั้งสองเรื่องโดยศึกษาค้นคว้าความเหมือนและความแตกต่างในแง่มุมของความรัก ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ หลักแห่งคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมทางศาสนาอย่างลึกซึ้ง บทที่สาม วิเคราะห์แยกแยะถึงทัศนคติทางศาสนาที่สะท้อนในตำนานพื้นบ้าน “นางพญางูขาว” และ “นางนาก” โดยศึกษาจากรูปแบบของศิลปะการแสดง วัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในบทละครและบทภาพยนตร์อย่างละเอียด
China is a large country with resources in abundance. It has had a long history, and preserved plenty of age-old cultural heritage. Among this so-called cultural heritage, traditional folklore is by far the most outstanding fruit, especially the legend of “The White Serpent”. This legend has been regarded as one of the four most famous traditional stories of China with long-standing history. It has got profound content that leaves a great impression on folks. This legend was originated during The Song Dynasty in and around cities of Hangzhou, Suzhou and Zhenjiang. It was told that a female white snake demon had practiced for years to attain immortality, eventually she was able to disguise herself in a human form, and lastly fell in love with an ordinary man. The story reflects social environments and people’s ways of lives at the time. It also depicts customs and traditions, social and moral etiquette, as well as traditional cultures in all aspects. And although it has been described in words and written literature for about eight hundred years now, “The White Serpent” is still a living legend without falling into a decline. From ancient time until today, Thailand is a country full of mystery and myth. There have been lots of tales and stories about ghosts and spirits. “Nang Nak” is a story about ghosts and can be dubbed as “The White Serpent” in Thai version. This story was originated about a hurdred years ago in the reign of King Rama the Fourth (also known as King Mongkut). During that time, Thailand was still under monarchy ruling and slavery also existed. Science and systematic learning in all aspects were not up to the standard. Folks tended to bsuperstitious and believed in power of magic, as well as ghosts and spirits. In the meantime, people were deeply attached to Buddhism. At the time, Buddhism had pretty strong influences on Thai people as a whole, and Thai temples generally served as social and religious centers for the people. Both the legends of “The White Serpent” and “Nang Nak” have long been well-known traditional folklore of China and Thailand. Each of them has portrayed pictures depicting love and passion between a demon and a gentleman, also between a ghost and a common man, reflecting the essence of love and loyalty from spiritual figures, as well as the desire of a human being when he is still alive. Meanwhile, these two folk stories have illustrated the people’s ways of lives at that time, the social and moral etiquette, representing the spirit of Thai-Chinese traditional cultures from the two nations. This thesis employs a comparative study approach in making the analysis. It has focused on the legend of the White Serpent in the form of television series with 30 episodes in length, and the ghost story of Nang Nak in the form of Thai movie, both of which are new reproductions. It would profoundly study and analyze the similarities and differences, as well as the background of the two legends. It would also touch on the images of characters inside the stories which have had things in common, and look into the stories if there have been developments and improvements when reproduced in the forms of television series and movies. In addition, it would study to reflect the view of love, the belief in ghosts and spirits, moral and righteousness, as well as religious values of people from the two nations. This thesis divides into three main chapters. The first chapter analyzes the historic background of the traditional stories namely “The White Serpent” and “Nang Nak” by looking into details from mere folklore of The White Serpent until it was transformed into a television series, and also from a legendary ghost story of Nang Nak until it entered the movie presentation. The study emphasizes the cause of tragedies and summarizes the influence derived during the time of feudal ruling. The second chapter compares the similarities and differences of respective characters from the two folk stories by making researches in the view of love, the belief in ghosts and spirits as well as the principles of morality, social etiquette and cultural aspects of religion. The third chapter analyzes and differentiates the religious attitudes reflected in the folk stories of “The White Serpent” and “Nang Nak” by studying the art of presentations and the cultural value profoundly hidden in the play and the movie themselves.
Description: Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2011
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/691
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf569.21 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdf360.37 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf418.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf
  Restricted Access
378.44 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter3.pdf
  Restricted Access
350.1 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
References.pdf587.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.