Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/95
Title: | บทบาทของบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน (บวรชน) ต่อการมีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น จังหวัดจันทบุรี |
Other Titles: | Participation Roles of Family, Religion, School and Community in Preventing and Solving Drug Problems of the Youth in Chanthaburi Province |
Authors: | เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย ลัดดา เชยบุญ |
Keywords: | ยาเสพติด -- การป้องกันและควบคุม ยาเสพติดกับเยาวชน -- ไทย -- จันทบุรี วัดกับปัญหาสังคม ชุมชนกับโรงเรียน Substance abuse -- Prevention Youth -- Drug use -- Thailand -- Chanthaburi Buddhism and social problems Community and school |
Issue Date: | 2008 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น ในจังหวัดจันทบุรี บทบาทการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน (บวรชน) ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน (บวรชน) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกับพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จันทบุรี จำนวน 365 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS for Window เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 14 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลการเรียนอยู่ระหว่างเกรดเฉลี่ย 3.00 – 4.00 ได้รับค่าใช้จ่าย 200 – 400 บาทต่อสัปดาห์ เป็นบุตรคนแรกในจำนวนพี่น้อง 2 คน อาศัยอยู่กับบิดามารดา มีลักษณะของความเป็นวัยรุ่น อยู่ในระดับปานกลาง ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุม พฤติกรรมการใช้สารเสพติด พบว่า มีวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติด จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 9.3 ส่วนใหญ่นิยมการดื่มเบียร์ ปริมาณและความถี่ในการดื่มคือ จำนวน 35 แก้วต่อเดือน บทบาทของบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน (บวรชน) ต่อการมีส่วนร่วมป้องกันยาเสพติดในวัยรุ่น พบว่า มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ส่วนบทบาทของบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน (บวรชน) ต่อการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น พบว่า บ้าน วัด และโรงเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนชุมชนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติด อยู่ในระดับมาก ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ พบว่า เพศ อายุ ลักษณะการอาศัยอยู่ ลักษณะของวัยรุ่น การมีส่วนร่วมของบ้าน (ครอบครัว) มีความสัมพันธ์ต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นวัยรุ่นชายและหญิง มีการใช้สารเสพติดที่ต่างกัน วัยรุ่นเพศชายจะมีการใช้สารเสพติดมากกว่าวัยรุ่นเพศหญิง อายุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น วัยรุ่นที่มีอายุน้อยจะมีการใช้สารเสพติดน้อยกว่าวัยรุ่นที่มีอายุมาก เมื่อวัยรุ่นมีอายุมากขึ้นจะมีพฤติกรรมการใช้สารเสพติดมากขึ้นด้วย ลักษณะการอยู่อาศัยกับบิดามารดา หรือบุคคลอื่น พบว่า การอยู่อาศัยกับบิดามารดา มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น วัยรุ่นที่อาศัยอยู่กับบิดามารดามีการใช้สารเสพติดมากกว่าวัยรุ่นที่อาศัยอยู่กับญาติหรือบุคคลอื่นๆ ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ว่าวัยรุ่นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในด้านการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาซึ่งมีมากกว่าลักษณะการอาศัยอยู่ด้วยกัน เช่น การไม่มีเวลาให้กันและกัน ไม่มีการปรึกษากันเมื่อเกิดปัญหา หรือการควบคุมมากเกินไป ลักษณะของวัยรุ่น จากการศึกษาลักษณะของวัยรุ่น พบว่า ลักษณะของความเป็นวัยรุ่นมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น นักเรียนที่มีลักษณะของวัยรุ่นมากทำให้มีความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลองได้มากกว่านักเรียนที่มีลักษณะของความเป็นวัยรุ่นน้อย การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการปฏิบัติของบ้าน (ครอบครัว) ด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด พบว่า การมีส่วนร่วมของบ้าน (ครอบครัว) ด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น บ้าน (ครอบครัว) ที่มีส่วนร่วมป้องกันปัญหายาเสพติดมากส่งผลให้วัยรุ่นมีการใช้สารเสพติดลดน้อยลงข้อเสนอแนะ บิดามารดาควรดูแลเอาใจใส่วัยรุ่นอย่างเหมาะสม ควรมีการผ่อนปรน และให้ความใกล้ชิดโดยเฉพาะวัยรุ่นชาย และเมื่อวัยรุ่นเติบโตมีอายุมากขึ้น หรือศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น ควรเพิ่มความเอาใจใส่ ให้คำปรึกษาใกล้ชิด เมื่อวัยรุ่นแสดงลักษณะวัยรุ่นมาก ก็ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในการขัดเกลาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภัยจากการอยากรู้ อยากลอง ในส่วนของ วัด โรงเรียน ชุมชน (บวรชน) ควรแสดงบทบาทในการมีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และควรมีการประสานงานกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันเยาวชนไม่ให้มีโอกาสได้เสพ หรือลองเสพสารเสพติด The aim of this research is to study about drug problems of the youth in Chantaburi Province and the participation roles of family, religion, school and community in preventing and solving this problem. On the other hand, its aim is also to study about co-relationship among these four parties, namely ; family, religion, school and community in order to prevent and to solve this problem. The samples for this research was the junior high school students in three schools in the Office of Chanthaburi Educational Service Area Zone 1. The sample size was three hundred and sixty five students (365). The questionnaire was given and followed by using the standard program in term of social perspective – SPSS for Window. Descriptive statistics were employed to present percentage, mean, standard deviation and inferential statistics Multiple Regression Analysis was used to analyse the relationship.The finding of this research as the following:The majority junior high school students was female at 14 years old held the study grade between 3.00 – 4.00 receiving the allowance 200-400 Baht a week. Most of them were the first born child among 2 children in the family living with both father and mother. Their parents were at the middle level of economic status. Students were under the authority of both parentsThe drug used behavior among the junior high school students was found with 34 students. This means to say that 9.30 % out of 365 students falling into drinking beer with the average 35 glasses a monthThe prevention roles of family, religion, school and community about drug problems among the youth in schools was found at high level for prevention. The solving about drug problems for the school youths found among the families, the religion and the school at the middle level. While the community found at the higher level in solving drug problems among the junior high school students than other three parties.The relation analysis among the specific variables namely; sex, age, family status and involving of family type were related to the student youths’ drug used. The summary of the relation analysis as the following:The “sex” of the junior high school students was found to influence the problems of drug used. The study found male junior high school students used the drug more than the female junior high school students.The study found that “age” had somehow positive relationship towards drug use means; the elder youth in schools tends to use the drug more than the younger ones. This means that when the youth grow up at certain time, they tend to use more drug.This study giving a surprise to find that living with the both father and mother of the youths found with more drug used than the youths living with relatives or others. Perhaps, the youths who live with their own parents living in such atmosphere like ; having strick or overcontrolled parents, or parents have no time to be together the children no time to discuss on problem. That is the reason why the youth turn to something else when they have problem such as drug use. As for youth’s characteristics, it had positive relationship towards drug use. The more the youth’s characteristics the more a try to something new or excited exercise in their youth time while the younger students are less in this term. Paticipation role of family in preventing drug problem, the finding indicated that it had negative relationship towards drug use of the youth. The more preventing roles of family on durg problems the less the youth used drug. Recommendation Parents should take care of teen-age appropriately , be supposed to the lessening and give the closeness especially man teen-age and when teen-age grows up old more and more or study in upland degree go up should enhance the carefulness , give advices be close to , when teen-age shows teen-age many character , as a result , should take an interest specially in the scrub edits the behaviour for insures against dangers from eagerring to know want to try in the part of temple , school, community should perform one's duty in participating in protects and correct continuously and supposed to work integration between family, temple , school, community, always for protect the youth can don't have a chance takes or try take the addictive substance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/95 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 109.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontents.pdf | 76.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 140.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 621.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 140.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 560.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 166.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 331.63 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.