Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/966
Title: | ปัจจัยสู่ความสำเร็จสถาบันการเงินชุมชนบ้านดอน ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Critical Success Factors of Financial Institution of Baan Don Community, Pong Numron Sub-Disdrict and Bann Mae Jai Tai Community Financial Institutions, Wieng Sub-District, Fang District, Chiang Mai Province |
Authors: | กฤตวรรณ สาหร่าย Kittawan Sarai พระปุญญาพัฒน์ แสงวงค์ดี Phra Punyaphat Sangwongdee Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ Village Fund Program -- Thailand -- Chiang Mai ความสำเร็จ Success สถาบันการเงินชุมชนบ้านดอน (เชียงใหม่) Baan Don Community Financial Institutions (Chiang Mai) สถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ (เชียงใหม่) Baan Mae Jai Tai Community Financial Institution (Chiang Mai) บริการสังคม Social welfare |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องปัจจัยสู่ความสำเร็จสถาบันการเงินชุมชนบ้านดอน ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชน และแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่นำไปสู่ความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชน โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยแบบผสานวิธี โดยผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ได้แก่ การวางแผน การสื่อสาร ทักษะภาวะผู้นำ เครื่องมือ กระบวนการ การบริหารจัดการ และการทำงานร่วมกัน โดยปัจจัยทั้ง 7 นี้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทั้งยังมีความสำคัญและมีส่วนช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับความคิดเห็นของสมาชิกสถาบันการเงินชุมชนที่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดต่อ 7 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และยังพบว่า การบริหารจัดการเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงปัจจัยอื่น ๆ ให้ดำเนินงานไปพร้อมกันจนบรรลุถึงเป้าหมายหรือความสำเร็จที่ต้องการ ทั้งนี้ ได้พบแนวทาง การปฏิบัติที่ดี คือ ภายใต้บริบทของชุมชน สถาบันการเงินชุมชนควรสร้างสรรค์ระบบสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยให้การบริหารจัดการนั้นอยู่ภายใต้ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจของสมาชิก ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานที่ซื่อสัตย์ของคณะกรรมการ นอกจากนี้สถาบันการเงินชุมชนต้องสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้นในจิตใจของสมาชิก ให้สมาชิกมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของสถาบันการเงินชุมชน ในฐานะที่ตนเองมีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนา เป็นสิ่งมีค่าที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา นอกจากนี้ ยังพบว่า แนวทางการปฏิบัติที่ดีเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนำทุนทางสังคมมาใช้และส่งผลให้สถาบันการเงินชุมชนได้กลายเป็นทุนทางสังคมของชุมชน This research article is a part of the thesis titled Critical Success Factors of Financial Institutions of Baan Don Community, Pong Num Ron Sub-district and Baan Mae Jai Tai Community Financial Institution, Wiang Sub-district, Fang District, Chiang Mai Province. The objectives of this study were to identify 1) the successful factors of community financial institutions, and 2) the good practical strategy leading to the successful factors of community financial institutions. The mixed methodology research was applied in this study. The results of the research found that the seven successful factors included planning, communication, leadership skills, tools, process, management, and teamwork, which were all related to each other. In addition, these seven successful factors were important and assisted to promote and support the successful outcomes that are consistent with the opinion of community financial institution members having the highest positive level. Moreover, the results have shown that the management was an important factor linking other factors to work together until reaching the desired goal or achievement. In this regard, the good practical strategy in this study was the underneath community context. The community financial institutions should create a welfare system to improve the quality of life with efficient management by allowing it to be under the trust of members. This was a result of the committee’s honest performance. In addition, the community financial institutions must create a sense of ownership in the minds of members to see the value and importance of community financial institutions. As one who participates in the creation and development considered to be a valuable thing, it must be taken care of in the long run. In addition, the good practical strategy was the result of the adoption of social capital which affected the community financial institutions to become social capital of the community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2565 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/966 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phra-Punyaphat-Sangwongdee.pdf | 6.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.