แมลงสาบเป็นพาหะนำเชื้อโรคหลากหลายชนิด มีนิสัยกินอาหารได้ทุกประเภท พบมากในบริเวณที่พักอาศัยของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะนำเชื้อยีสต์ก่อโรคมาสู่มนุษย์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของเชื้อยีสต์ที่อยู่ในลำไส้ของแมลงสาบจากบริเวณห้องชุดที่พักอาศัยในชุมชนเคหะบางพลี ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอร์เรส (PCR) บริเวณ internal transcribed spacer 1 และ 2 (ITS1-2) และหาลำดับเบสโดยการทำ sequencing เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล NCBI ผลการวิจัยพบเชื้อยีสต์ที่สามารถก่อโรคในมนุษย์ร้อยละ 75 ได้แก่ Candida tropicalis, C. glabrata, C. nivariensis, C. palmioleophila, Pichia kudriavzevii (ร้อยละ 40, 20, 5, 5, และ 5 ตามลำดับ) และเชื้อยีสต์ที่ไม่พบรายงานการก่อโรคในมนุษย์ร้อยละ 25 สำหรับเชื้อยีสต์ที่ก่อโรคในมนุษย์พบรายงานการก่อโรคในกลุ่มเสี่ยง อีกทั้งยังพบอุบัติการณ์การดื้อต่อยาต้านเชื้อราในกลุ่ม azole มากขึ้นในปัจจุบัน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแมลงสาบเป็นพาหะที่สำคัญของยีสต์ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ในสิ่งแวดล้อมของชุมชน
Cockroaches are omnivore that are capable of transmitting many human pathogens. The major habitat is dwellings, so there is a high possibility that pathogens are acquired by cockroaches. This research aimed to explore the yeasts in gut of cockroaches collected from Bangphli housing, Amphoe Bang Sao Thong, Samutprakarn province. Polymerase chain reaction (PCR) method was used to amplify the internal transcribed spacer 1 and 2 region (ITS1-2) followed by DNA sequencing to compare the findings with NCBI database. The results revealed that 75% of the yeasts were opportunistic pathogens in human classified as Candida tropicalis (40%), C. glabrata (20%), C. nivariensis (5%), C. palmioleophila (5%), Pichia kudriavzevii (5%) and the other 25% were non-pathogenic yeasts. These pathogenic yeasts can cause serious infections in immunocompromised patients and have been recognized to have high incidence of drug resistance especially to the azole group. The data from this study emphasized the significance of cockroaches as potential vectors of medically important yeasts in community environments