บทคัดย่อบทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพลวัตของเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ไทยในการ์ตูนประวัติศาสตร์ไทย จำนวน 6 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า การ์ตูนประวัติศาสตร์ไทยมีพลวัตทั้งในด้านการผลิต กลุ่มผู้รับสาร ตัวบท และการใช้ตัวบท ด้านการผลิตเป็นการปรับเปลี่ยนจากราชสำนักสู่นายทุนตามกระบวนการผลิตของระบบทุนนิยม ผู้รับสารปรับเปลี่ยนจากผู้ต้องการค้นคว้าศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงมาสู่กลุ่มผู้อ่านที่เป็นเด็กและเยาวชนโดยมีผู้ปกครองสนับสนุนให้อ่านเพื่อความรู้พร้อมไปกับความบันเทิง ด้านตัวบทมีพลวัตในลักษณะการดัดแปลงองค์ประกอบจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ การสร้างสหบท และการสร้างสหวาทกรรมส่วนด้านการใช้มีพลวัตที่สอดคล้องกับผู้สร้างและผู้เสพ คือ การใช้เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เป็นสื่อความบันเทิงและเป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมการใช้เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เป็นสื่อในการปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับชาติพลวัตเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นผลมาจากการรวมความรู้ทางประวัติศาสตร์กับการ์ตูนเข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งสนองความคิด “ความรู้คู่ความบันเทิง” การ์ตูนประวัติศาสตร์ไทยจึงเป็นการ์ตูนแนวใหม่ที่ผู้อ่านจะได้รับทั้งความบันเทิงและความรู้ไปพร้อมกัน
This article aimed to study dynamics of narratives in six Thai history comics. The findings showed that Thai history comics expressed dynamics in their publishing, readers, text, and uses. For publishing, it shifted from royal initiation to capitalist entrepreneurs. Readers also moved from knowledge acquirers, searching for reference, to children and young adults supporting by parents and requiring edutainments. Dynamics in text reflected in changes of formats from historical document to intertextual and inter-discourse forms. Changes of uses were also relevant to publishers and readers. These historical narratives became entertaining media and additional sources of knowledge, while still lasted s a medium of creating awareness of the nation. All stated dynamics were the result of combining historical knowledge with cartoons to focus on the idea “edutainment.” Thus, Thai history comics, were currently modern comics presenting entertainment as well as knowledge.