ปัจจุบันธุรกิจการให้บริการการขนส่งพัสดุมีการแข่งขันสูงขึ้นอันเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลในการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมีส่วนร่วมใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลออนไลน์มีจำนวน 384 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการทดลองพบว่าความสัมพันธ์ของของปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่ายในการใช้บริการ การรับรู้อิทธิพลจากสังคม และการรับรู้ถึงความเพลิดเพลินที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมีส่วนร่วมใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยปัจจัยการรับรู้ความง่ายในการใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมีส่วนร่วมใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยสูงสุดโดยสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.244 รองลงมาคือ ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.225 ปัจจัยการรับรู้อิทธิพลจากสังคมมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.198 และปัจจัยการรับรู้ถึงความเพลิดเพลินมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.147 ตามลำดับ
The aim of this research was to investigate the factors influencing intention to participation in the service of parcel delivery business of e-commerce entrepreneur in Thailand. The participants were the people who follow channels in online social media. There were 384 peoples in this survey through an online approach. The responses were analyzed by statistical program to find the effects. The results showed that the relationship of the perceived usefulness, perceived ease of use, perceived social influence and perceived enjoyment factors that influences the intention to participation in the service of parcel delivery business of e-commerce entrepreneur in Thailand at 0.5 significance level. The perceived ease of use factor that influenced the intention of participating in the parcel delivery business of e-commerce entrepreneur in Thailand was the highest with a regression coefficient of 0.244. The perceived usefulness factor had a regression coefficient of 0.225. In addition, the perceived social influence factor had a regression coefficient of 0.198 and the perceived enjoyment factor had a regression coefficient of 0.147, respectively.