เชื้อ staphylococci เป็นเชื้อประจำถิ่นที่พบได้บริเวณผิวหนัง เยื่อเมือกสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงปนเปื้อนตามสถานที่สาธารณะ ปัจจุบันพบว่าเชื้อกลุ่มนี้ได้พัฒนาการดื้อยามากขึ้น
และสามารถส่งผ่านยีนดื้อยาให้กับเชื้อก่อโรคชนิดอื่นได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของเชื้อ methicillinresistant staphylococci (MRS) จากสถานที่ออกกำลังกายสาธารณะ 8 แห่งในจังหวัดสมุทรปราการ โดยเพาะแยกเชื้อจากตัวอย่างจำนวน 107 ตัวอย่างบนอาหาร Columbia blood agar ที่ผสมยา oxacillin และทดสอบความไวต่อยา cefoxitin, clindamycin และ erythromycin ด้วยวิธี disk diffusion พบเชื้อ MRS 13 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.15) จากสถานที่ออกกำลังกาย 4 แห่ง โดยเป็น coagulase-negative staphylococci (MRCoNS) ทั้งหมด
ในจำนวนนี้เป็นเชื้อที่ดื้อยา erythromycin เพียงชนิดเดียวจำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 15.38) และที่ดื้อ clindamycin และ erythromycin จำนวน 7 ตัวอย่าง (ร้อยละ 53.85) โดยเชื้อที่ดื้อยาทั้งสามชนิดพบบนอุปกรณ์บริเวณที่มือและข้อพับขาสัมผัสการพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในสถานที่ออกกำลังกายทำให้เห็นถึงบทบาทของสถานที่ชุมชนในการเป็นแหล่งสะสมของเชื้อดื้อยา ดังนั้นผู้ใช่บริการควรล้างมือและทำความสะอาดร่างกายหลังจากสัมผัสอุปกรณ์ ยิ่งกว่านั้นควรมีการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการถ่ายทอดการดื้อยาไปยังเชื้อ staphylococci อื่น ๆ ในชุมชน
Staphylococci are normal microbiota found in human skin, mucous membrane,respiratory secretion and contamination in public area. At present, these bacteria develop antibiotic resistance and transfer antibiotic-resistant gene to other pathogenic bacteria. The objective of this study is to survey the prevalence of methicillin-resistant staphylococci (MRS) from 8 public finesses in Samut Prakan province. Staphylococci from 107 samples were isolated using Columbia blood agar containing oxacillin and the susceptibility tests against cefoxitin, clindamycin and erythromycin were performed using disk diffusion
method. The results revealed 13 MRS (12.15%) from 4 public finesses and all of them were coagulase-negative staphylococci (MRCoNS). Of these, 2 samples (15.38%) resisted to erythromycin and 7 samples (53.85%) resisted to both erythromycin and clindamycin. MRS were determined on the handle and the popliteal space of the fitness equipment. Finding of antibiotic-resistant bacteria in public fitness indicates the role
of public place on accumulation source of antibiotic-resistant microorganisms. Therefore, users should have hand and body washing after touching the fitness equipment. Moreover, the surveillance should be done to control the transfer of antibiotic resistance to pathogenic staphylococci in community.