การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ ในพื้นที่ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้แก่ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาข้อมูล และวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวม 33 คน
ผลการวิจัยพบว่า เส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ ในพื้นที่ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำเส้นทางใหม่ ซึ่งแต่เดิมยังเป็นเพียงคลองที่ใช้ระบายน้ำ ทำเกษตรกรรม และยังมีวัชพืชสะสมทำให้เกิดปัญหาในการระบายน้ำ และยากต่อการดูแลรักษาทั้งจากทางภาครัฐและชุมชนท้องถิ่น จึงนำไปสู่การพัฒนาเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำใหม่ด้วยความร่วมมือกันทุกภาคส่วน ประกอบด้วย 3 เส้นทาง และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ ในพื้นที่ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยจัดลำดับตามความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านพื้นที่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านกิจกรรมและกระบวนการ และปัจจัยด้านองค์ประกอบด้านการจัดการในตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
In this research investigation, the researchers study water eco-tourism routes and the factors affecting water eco-tourism routing in Sisachorakhenoi subdistrict, Bang Sao Thong district, Samut Prakan province. In this qualitative research approach, the research instruments were an observation, interviews, and focus group discussions. Data were analyzed using the descriptive method, an analysis of an interview form, and content analysis. Thirty-three key informants were from the public sector, the private sector, members of the general public, and tourists. Findings are as follows. Water eco-tourism routes in the area under study are new water eco-tourism routes. Originally, they were canals used for drainage and agriculture. Accumulated weeds caused drainage problems and it was difficult for the public sector and local communities to attend to. This has led to the development of three new water eco-tourism routes with cooperation from all sectors. The factors affecting water eco-tourism routing in the area under investigation in descending order were the following factors: area; participation; activities and process; and management elements in the area under study.