บทความวิจัยนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อต่อยอดจากงานวิจัยเรื่อง "ความเชื่อเรื่องศาสนาพุทธมหายาน และศาสนาเต๋า ของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดสมุทรปราการ : มุมมองจากโรงเจ" และเพื่อศึกษาความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่กระจายของความเชื่อทางศาสนาของชาวจีนในกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ โดยเน้นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างละเอียด
บทสรุปในงานวิจัยในเรื่องดังกล่าวแสดงไว้ว่า ชาวจีนในจังหวัดสมุทปราการมีความเชื่อทางศาสนาแบบจีนที่หลากหลาย กล่าวคือ มีทั้งศาสนาพุทธมหายานนิกายเซน นิกายย่อยหลิ่มจี้จง ศาสนาเต๋า และความเชื่อแบบซานเจี้ยง ( 三教)ซึ่งแยกออกเป็นสายโฮ่วเทียนเต้า (后天道)สายเซียนเทียนเต้า ( 先天道)และสายอีก้วนเต้า ( 一贯道) การแพร่กระจายของศาสนาดังกล่าวในประเทศจีน แม้จะเกิดขึ้นเร็วช้าต่างกัน แต่ความเชื่อหลากหลายที่ติดตัวมากับชาวจีนอพยพ ล้วนกระจายเข้าสู่กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการพร้อมๆ กับชาวจีนอพยพ แต่เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าศาสนาเต๋า ( 道教) ซึ่งเป็นศาสนาที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานได้ถูกหลอมรวมเข้ากับวิถีชีวิของชาวจีนในทุกมิติ ทำให้มิอาจแยกความเชื่อศาสนาเต๋าออกจากความเป็นอยู่ของชาวจีนได้ เราจึงได้เห็นศาสนสถานแบบจีนของศาสนาเต๋าหรือความเชื่อแบบจีนอื่นๆ ถูกสร้างขึ้นในเกือบทุกชุมชนของชาวจีนในประเทศไทย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบอยู่ทั่วไปในเกือบทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ จึงกล่าวได้ว่า ศาสนสถานความเชื่อแบบจีนในประเทศไทย ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อแบบศาสนาเต๋า และความเชื่อแบบจีนอื่นๆ นั้น พบว่าเป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีนอพยพในท้องถิ่นต่างๆ
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยละเอียดที่กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ ทำให้ทราบอย่างชัดเจนว่า ศาสนสถานแบบจีนรูปแบบหนึ่งที่สำคัญมากของชาวจีน คือ "โรงเจ" ทั้งที่กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ มีโรงเจที่สร้างขึ้นจากคติความเชื่อแบบซานเจี้ยว ที่แยกออกเป็นสายเซียนเทียนเต้าที่แพร่กระจายจากเมืองแต้จิ๋ว ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่เป็นอย่างมาก โดยมีอายุอย่างน้อย 101 ปีขึ้นไป ได้แก่ โรงเจ "ฮกเอี้ยงเสี่ยงตึ้ง" (復陽善堂) ที่กรุงเทพฯ และโรงเจ "เหม่งจิงเสี่ยงตึ้ง" (明真善堂) ที่สมุทรปราการ เซียนเทียนเต้าที่กรุงเทพฯ เป็นความเชื่อแบบซานเจี้ยวโดยแท้ แต่เซียนเทียนเต้าในสมุทรปราการเน้นไปทางศาสนาเต๋ามากกว่าศาสนาพุทธมหายาน ศาสนสถานแบบจีนที่กล่าวมานี้ทั้งในกรุงเทพฯ และในจังหวัดสมุทรปราการกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เสื่อมลงเกือบทุกมิติ ด้วยปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
This research is done in continuation of the research, "Paknam, the Old Port: Chinese Believes and the Way of Life" (2013), and also aim to study about perception of Bangkok and Samutprakarn Chinese religious and believes. From the conclusion of the former research, we are aware of the various Chinese religion beliefs in Samutprakan; namely Mahayana Buddhism (大乘佛教), Daoism (道教), Sanjiao (三教), Hou Tian Dao (后天道), Xian Tain Dao (先天道), and Yi Guan Dao (一贯道). The beliefs were diverely spread throughout China at different times. Each belief has a different timeline of prosperity, some sooner, and some later. The immugration of Chinese immigrants to Bangkok and Samutprakarn also carry the similar time frame of the prosperity from the mother country. The beginning of the Chinese religion and beliefs in Bangkok and Samutprakarn were aligned with Daoism, because Daoism had a long history in the Chinese way of life. This is why there were a lot of Chinese Daoism temples built in the Chinese area of both cities, Bangkok and Samutprakarn. Other than its religious functions, these Daoism and other believes temples represented the center of Chinese are for Chinese immigrants in different areas.The results of the research showed that one of the most important Chinese religious places in Thailand is the "Vegetarian hall". The oldest vegetarian hall in Bangkok is call "Hok Yiang Xiang Teng" (復陽善堂-Tiechiew). The oldest vegetarian hall in Samutprakan, in contrast, is "Meng Jing Xiang Teng" (明真善堂-Tiechiew). The Xian Tian Dao in Bangkok are mostlt the real Sanjiao. In Samutprakan, however, it appears that the people are mainly concerned Daoism than Sanjiao and Mahayana Buddhism. Nevertheless, the "Vegetarian hall" both in Bangkok and outer factors.