ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่รับเลือดบ่อยมักจะสร้างแอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดง ทำให้หาเลือดที่เข้ากันได้กับผู้ป่วยยากขึ้น การศึกษานี้เพื่อหาความชุก ความถี่ของแอนติบอดีในผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่รับเลือดของโรงพยาบาลวังเหนือ จากข้อมูลย้อนหลังปี 2557-2561 พบผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่รับเลือดทั้งหมด 75 ราย มีการสร้างแอนติบอดีร้อยละ 18.7 (14/75 ราย) พบความชุกของ anti-Mia และ anti-E มากที่สุดร้อยละ 64.3 (9/14 ราย) และ anti-c ร้อยละ 57.1 (8/14 ราย) โดยปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีคือการที่ผู้ป่วยไม่แอนติเจนและสัมพันธ์กับจำนวนครั้งที่รับเลือด ดังนั้น การให้เลือดที่มีแอนติเจนเม็ดเลือดแดงตรงกันกับผู้ป่วยจึงช่วยป้องกันการถูกกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีได้
The development of red cell alloantibodies often causes problem in transfused-thalassemic patients. Retrospective data were collected from medical records between 2014 and 2018 at Wangnua Hospital, prevalence and frequency of alloantibodies were study. Seventy-five transfused-thalassemic patients, 14 patients with developed alloantibodies were 18.7% (14/75 ราย). The most prevalence and frequency of alloantibodies were ant-Mia and anti-E 64.3% (9/14 ราย) followed by anti-c 57.1% (8/14 ราย). A lack of antigen is a risk of red cells alloimmunization
and correlates with multi-transfused. So, patient transfused with matched red cell antigens prevent red cell alloimmunization.