DSpace Repository

ศึกษาปรากฏการณ์กระแสนิยมของชาวจีนต่อพระเครื่อง วัตถุมงคล เครื่องราง ของขลังของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2565

Show simple item record

dc.contributor.author พรหมมินทร์ จังกาเสถียร
dc.contributor.author Phrommin Jangkasatian
dc.contributor.author 曾顺来
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies. Student of Master of Chinese Studies en
dc.date.accessioned 2024-08-19T14:39:46Z
dc.date.available 2024-08-19T14:39:46Z
dc.date.issued 2022
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2623
dc.description Proceedings of the 9th National and International Conference on "Research to Serve Society", 1st July 2022 at Huachiew Chalermprakiet University, Bangphli District, Samutprakarn, Thailand. (e-Conference) p. 1083-1096. en
dc.description.abstract พระเครื่องไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน จากพระพิมพ์ที่ถูกสร้างขึ้นและนำไปบรรจุในพระเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา พัฒนาสู่การเข้าสู่ตลาดสินค้าในฐานะ พระเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสมัยรัชกาลที่ 4 ที่พระเครื่อง นอกจากจะทำหน้าที่เป็นที่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า หรือคุณครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือแล้ว ยังมีพุทธคุณคุ้มครอง ป้องกันภัย ให้กับผู้ที่พกบูชา เมื่อกาลเวลาผ่านไป พระเครื่องยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนซื้อขาย พระเครื่องเกิดขึ้น เหมือนสินค้าอื่นๆ ที่สามารถซื้อขาย ลดราคา ขึ้นราคาได้ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 เป็นต้นมา กระแสนิยมไทยในประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้น ผ่านทางภาพยนตร์ ละคร โดยเฉพาะภาพยนตร์สยองขวัญ ที่แฝงเรื่องความเชื่อ ในผี โชคลาง และของอาถรรพ์ โดยในนักแสดงนำ มีการพกพาเครื่องรางของขลัง ทั้งยังมีภาพการแขวนพระเครื่องจากดาราดังที่ฮ่องกง และไต้หวัน อย่างแพร่หลาย ทำให้ชาวจีนค่อยๆ รู้จักพระเครื่องไทยที่เรียกว่า “泰国佛 牌” แต่เริ่มต้นชาวจีนเริ่มบูชาพระเครื่องในรูปแบบของเครื่องประดับที่มีความสวยงาม ทันสมัย ทำให้แพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่นสาวชาวจีน และชาวจีนบางคนมุ่งหวังให้พระเครื่องไทยที่ตนบูชา นำมาซึ่งความสาเร็จทั้งปวง โดยไม่ศึกษาอย่างถี่ถ้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระเครื่องไทย เริ่มมีเพิ่มมากขึ้น แต่ยังเป็นการแพร่กระจายความรู้ในกลุ่มคนที่จำกัด ผู้คนที่เข้าถึงพระเครื่องก่อน ใช้ช่องทางนี้ประชาสัมพันธ์พุทธคุณพระเครื่องให้เกินจริง เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของตน เปลี่ยนจากความชอบเป็นธุรกิจ ทำให้มีความเข้าใจที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์กระแสนิยมพระเครื่องของไทย ในชาวจีน ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในไทยเติบโดอย่างก้าวกระโดด ปรากฏการณ์การกระแสความนิยมวัตถุมงคล เครื่องราง ของขลังของคนจีนนั้น เกิดขึ้นจากความศรัทธาหรือเป็นเพียงแค่กระแสนิยมเพียงชั่วครู จากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ดังเช่น ความนิยมแฟชั่นการแต่งกาย หรือกระเป๋า สัญชาติไทยแบรนด์ นารายา และกระแสนิยมเหล่านี้จะยังคงสภาพความนิยมอยู่นานเพียงใด ภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องจะปรับตัวอย่างไรต่อการเกิดขึ้นของกระแสต่างๆเหล่านี้ การศึกษาปรากฏการณ์กระแสนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีน ต่อวัตถุมงคล เครื่องราง ของขลัง ของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560-2565 จึงเป็นการหาคำตอบที่ไม่เคยมีมาก่อน และผลจากการศึกษาจะให้คำตอบที่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความเชื่อของคนจีนที่มีต่อสิ่งเหล่านี้ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการการท่องเที่ยว รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ และปรับตัวต่อกระแสนิยมนี้ งานวิจัย ฉบับนี้มุ่งเน้นการศึกษาปรากฏการณ์กระแสนิยมของชาวจีนต่อพระเครื่อง วัตถุมงคล เครื่องราง ของขลังของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560-2565 ผ่านการวิจัยข้อมูลเชิงคุณภาพ ผ่านการสารวจ สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล รวมถึงศึกษางานวิจัยต่างๆที่มีความเกี่ยวข้อง ในด้านการวิจัยเชิงปริมาณ มีการออกแบบแบบสอบถาม โดยการตั้งแบ่งกลุ่มและกำหนด กลุ่มเป้าหมายเป็นชาวจีนที่นิยมพระเครื่อง และชาวไทยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงการพระเครื่อง เพื่อตอบวัตถุประสงค์ศึกษาสาเหตุและพัฒนาการของปรากฏการณ์ทกระแสนิยมของชาวจีนที่เกิดขึ้น en
dc.description.abstract The Chinese believe that Buddhism in Thailand is very traditional and has a long history and culture of Buddhism, so China calls Thailand the “Land of yellow robes”. Thailand amulet has a remarkable history, from making a wrong small piece of amulet or a row of amulet in a stupa called “phrapim” to commemorate the Buddha to now and it has entered the commercial “phrakhrueang”, the real amulet is probably taking place. After the era of King RAMA4, there was phrakhrueang, because before that time, there was no habit of making small pieces of amulet to send to others, only after doing them, they put them in the pagoda as a ceremony to honor the Buddha. Nowadays, in addition to commemorating the grace of Buddha or eminent monks, the amulet also has the function of protecting the wearer. Therefore, amulets are becoming more and more popular. At present time in the market, amulets belong to a product that can be exchanged and tradable. There is demand in the market alike other products, and there is also has fluctuation just like general product. At this moment, the amulet of pure religious belief has become a commercial amulet. In recent years, China has been influenced by horror movies from Thailand, some movies are from mainland as well as China and Hong Kong about Thai beliefs, and many Chinese, Hong Kong and Taiwanese stars wear amulets in TV and movies, and then Chinese people gradually began to know amulets, The earliest popular amulet among Chinese is the amulet with beautiful form, beautiful color and some of them have very fragrant taste. Everyone sees it and thinks it is a fashionable, not like a holy object at all, so it will be liked by many young people. Although the amulet market in China and Thailand is still relatively small, the market value of amulet is not low. At the end of the day, people whom outside the circle also began to notice the business of amulets and went to the temples in Thailand to ask for amulets and started the business of amulets in Thailand. The research focuses on study of how Thai’s Amulet objects have an influenced to Chinese people since year 2560-2565 throughout the qualitative research, interviewing research, quantitative data collection and relevant quantitative research in conducting to redesign a questionnaire which aiming to take on group segmentation by targeting group of Chinese people whom like and passionate about Thai amulet and Thai people whom involved in Amulet society and to find the objective of studying the cause and cultivate reason behind the impactful phenomenon of Thai’s amulet impacts to Chinese. en
dc.language.iso th en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject เครื่องรางของขลัง -- ไทย en
dc.subject Amulets – Thailand en
dc.subject เครื่องรางของขลัง (พุทธศาสนา) en
dc.subject Amulets (Buddhism) en
dc.subject ชาวจีน en
dc.subject Chinese en
dc.subject ความเชื่อ en
dc.subject Belief and doubt en
dc.subject พระเครื่อง en
dc.subject ความนิยมชั่วครู่ en
dc.subject Fads en
dc.title ศึกษาปรากฏการณ์กระแสนิยมของชาวจีนต่อพระเครื่อง วัตถุมงคล เครื่องราง ของขลังของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2565 en
dc.title.alternative A Case Study of Thai Amulet Popularity among Chinese People in 2017 – 2022 en
dc.type Proceeding Document en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account