ในปัจจุบันประเทศไทยมีวัยแรงงานค่อยๆ ลดจำนวนลง และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งมีแนวโน้มเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ( Non communicable disease , NCD) มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย ที่มาจากพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพต่าง ๆ ที่ดำเนินมาตั้งแต่ช่วงอายุวัยทำงาน วัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อประเมินปัญหาสุขภาพเบื้องต้นและศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพของเยาวชนและวัยทำงานของนักเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ณ โรงเรียนพรหมพิกุลทอง ในตำบลราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ โดยสำรวจจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 71 คน เป็นเพศชาย 37 คน เพศหญิง 34 คน ส่วนมากมีพฤติกรรมไม่สูบบุหรี่ (56%) มีการออกกาลังกายนาน ๆ ครั้ง (44%) ส่วนมากไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์ (30 %) ดื่มเครื่องดื่มรสหวานเป็นบางครั้ง (51%) และดื่มน้ำอย่างน้อยไม่ต่ากว่าวันละ 8 แก้วเป็นประจา (42 %) พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่า ส่วนมากรับประทานอาหารรสเค็มจัด หวาน ไขมันสูง ทอด และปิ้งย่างเป็นบางครั้ง สรุปผลวิจัยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนมากมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคยังไม่มาก แต่หากยังปฏิบัติพฤติกรรมเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอต่อไป ในอนาคตอาจเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน ซึ่งเป็นโรคที่พบมากที่สุดในประเทศไทย
Thailand is now facing a gradual decline in the number of working age groups (15-59 years old) and currently entering the aging society. The incidence of non-communicable disease (NCD), the top health problem in Thailand is likely to increase. These diseases are caused from various potential risk behaviors. This study aims to assess primary health problems in both youth and working age group among Non-Formal Education (NFE) students and informal education students at Promphikunthong School in Racha Thewa district, Samut Prakan province. Moreover, the potential risk behaviors that may lead to health problems was also assessed by surveying using questionnaires. Subjects were 37 males and 34 females, total of seventy-one. The survey found that most of subjects are non-smokers (56%), frequent exercisers (44%), non-alcohol drinkers (30%), occasional sweet beverage consumers (51%), and drank at least 8 glasses of water on a regular basis (42 %). The study of eating behavior found that most of them are salty, sweet, high fat consumers, and occasional consume fried and grilled foods. In conclusion, most subjects in this study were not at risk of NCD. However, if they continue these behaviors, they may be at risk of chronic non-communicable diseases such as diabetes, and hypertension in the future.