การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในปัจจุบันส่งผลต่อภาวะสุขภาพซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในบุคคลวัยทำงานได้ การตรวจสุขภาพประจำปีช่วยให้ทราบภาวะสุขภาพ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและโรคที่แฝงอยู่โดยไม่ปรากฏอาการนำไปสู่การป้องกันและรักษาที่เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัญหาสุขภาพ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะอ้วน และเมตาบอลิกซินโดรมในบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 262 คน ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2560 วิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพประจำปีซึ่งประกอบด้วยผลการตรวจสุขภาพทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย ความยาว เส้นรอบเอว และความดันโลหิต และข้อมูลผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ น้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอลรวมไตรกลีเซอไรด์ เอชดีแอลคอเลสเตอรอล แอลดีแอลคอเลสเตอรอล โดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ร้อยละ 90.84 ภาวะอ้วน ร้อยละ 35.50 ภาวะน้าตาลในเลือดสูง ร้อยละ 21.37 ภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 18.32 และเมตาบอลิกซินโดรม ร้อยละ 18.32 ตามลำดับ โดยพบผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดผิดปกติต่อเนื่องตลอด 5 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 76.34) รองลงมา คือภาวะอ้วน (ร้อยละ 27.10) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพของบุคลากรในภาพรวมคงที่ตลอดระยะเวลา 5 ปี และปัญหาระดับไขมันในเลือดผิดปกติและภาวะอ้วนจัดเป็นปัญหาสำคัญในกลุ่มบุคลากร ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพของบุคลากรต่อไป รวมถึงใช้ในการปรับนโยบายวางแผนการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพ
Lifestyle changes could affect the health status resulting in many diseases including noncommunicable diseases. Annual health check-up reveals health status, risk factors and asymptomatic underlying diseases, leading to proper prevention and treatment. This work aimed to determine the health problems including hypertension, hyperglycemia, dyslipidemia, obesity and metabolic syndrome, among 262 Huachiew Chalermprakiet University staffs during 2013 – 2017. The health data which comprise of the basic physical examination including gender, age, weight, height, body mass index, waist circumference and blood pressure, and laboratory results including blood glucose, total cholesterol, triglyceride, LDL-cholesterol and HDL-cholesterol were analyzed using descriptive statistics. The prevalence of dyslipidemia, obesity, hyperglycemia, hypertension and metabolic syndrome were 90.84%, 35.50%, 21.37%, 18.32% and 18.32%, respectively. The greatest number of 5 years consecutive health problems is dyslipidemia (76.34%) and obesity (27.10%), respectively. This study showed that the health problems of staffs are in steady state for the whole 5 years, dyslipidemia and obesity are the important health problems among university staffs. This information is useful for future study on factors affecting personnel’s health problems and also the policy management in health literacy and awareness of health check-up results.