ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวนานาประเทศ นอกจากแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สวยงาม ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงราย กล่าวคือ พิพิธภัณฑ์บ้านดำ วัดร่องขุ่น และวัดร่องเสือเต้น งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางวัฒนธรรมและการให้บริการภาษาจีน อธิบายศิลปะและสถาปัตยกรรมของสถานที่แต่ละแห่ง รวมถึงความสำคัญในการให้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมาก งานวิจัยนี้ใช้การทบทวนวรรณกรรม ตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยใช้วิธีการส่งแบบสอบถามออนไลน์แก่นักท่องเที่ยวจำนวน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะทางวัฒนธรรมและความพึงพอใจในการให้บริการภาษาจีนของแต่ละสถานที่ ส่วนการสัมภาษณ์ ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้จัดการและหัวหน้าบริการนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับสถานการณ์การให้บริการภาษาจีน ปัญหาที่มักจะพบเจอ และวิธีการแก้ไขปัญหา นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนต่าง เนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบายลักษณะทางศิลปะและสถาปัตยกรรม แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ความพึงพอใจและประเมินผลทั้ง 3 สถานที่ จากผลการสำรวจพบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนรับรู้ลักษณะทางวัฒนธรรมและพอใจอย่างมากในการให้บริการภาษาจีนทั้ง 3 สถานที่ แต่ในด้านการรับรู้อยู่ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น ความหมายแฝงและความหมายเชิงลึกเกี่ยวกับศิลปะ สถาปัตยกรรม แนวคิดทางพุทธศาสนายังรับรู้ในได้น้อย ถึงแม้ว่านักท่องเที่ยวชาวจีนค่อนข้างพอใจการให้บริการภาษาจีน แต่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถการใช้ภาษาจีนของพนักงานให้บริการเกี่ยวกับอธิบายข้อมูลความรู้ด้านวัฒนธรรมไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งจำนวนพนักงานให้บริการภาษาจีนไม่เพียงพอ ไม่มีป้ายอธิบายแนะนาภาษาจีนตามจุดต่างๆ และข้อมูลภาษาจีนออนไลน์ โดยภาพรวมวิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับ ปัญหาที่พบ การจัดการพื้นฐาน การจัดแสดงเชิงวัฒนธรรมรวมถึงคำแนะนำการพัฒนาการให้บริการภาษาจีนของสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 3 แห่ง
Thailand is a well-known travel destination. Beautiful natural and manufactured landscapes abound. Chiang Rai contains the so-called 3-colors of Chiang Rai, the White Temple, the Black Temple, and the Blue Temple. The aim of the thesis is to analyzes the cultural characteristics and Chinese services of these areas and explains the importance of artificial creative arts, architectural arts, and huge numbers of Chinese tourists. Literature reviews, surveys, and interviews are used to acquire data for study. The author surveyed 100 Chinese tourists via an online forum regarding their impressions of the cultural characteristics and Chinese service quality. Then, compare the figures to the satisfaction of Chinese tourists. Interview senior staff regarding problems, scenarios, and problem-solving with Chinese service. Contrast similar and dissimilar points. The topic includes characterizing the sites' cultures, relevant theories, data analysis, and evaluation. The Chinese perceived the cultural characteristics of these places well, but only on the surface. The implication of art and architecture, as well as the idea of Buddhism, seems to be overlooked. Despite their satisfaction with the Chinese service, the staff's use of Chinese was limited to background knowledge and art details. Other issues include insufficient Chinese staff and outdated web material. The thesis analyzes collected data, existing problems, the cultural landscape, and general management to offer improvements in Chinese service.