การใช้ยาเกินความจำเป็นในฟาร์มปศุสัตว์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยา การพบเชื้อดื้อยาปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ที่นำมาจำหน่ายอาจเกิดการถ่ายทอดยีนดื้อยาของแบคทีเรียจากสัตว์มาสู่คนได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาการปนเปื้อนของเชื้อ กลุ่ม Enterobacterales ที่สร้างเอนไซม์ extended-spectrum beta-lactamase (ESBL) ในเนื้อไก่ที่จำหน่ายในตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ต ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ นำตัวอย่างเนื้อไก่มาเพาะแยกเชื้อในอาหารที่ใส่ยา ceftriaxone ทดสอบยืนยันการสร้างเอนไซม์ ESBL ด้วยวิธี combination disk และทำการตรวจหาชนิดของเชื้อที่แยกได้ด้วยการทดสอบทางชีวเคมี จากการเก็บตัวอย่างเนื้อไก่ทั้งหมด 50 ตัวอย่าง โดยเก็บจากตลาดสด 25 ตัวอย่าง พบเชื้อ ESBL ร้อยละ 96 (24/25) และซูเปอร์มาร์เก็ต 25 ตัวอย่าง พบเชื้อ ESBL ร้อยละ 44 (11/25) จานวนเชื้อ ESBL ที่แยกได้มีทั้งหมด 52 ไอโซเลต จากตลาดสดร้อยละ 73.08 (38/52) และจากซูเปอร์มาร์เก็ตร้อยละ 26.92 (14/52) เชื้อที่พบมากที่สุด คือ Escherichia coli พบร้อยละ 63.46 (33/52) และพบเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร คือ Salmonella spp. ร้อยละ 1.92 (1/52) ผลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามีการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยาในเนื้อสัตว์ จึงควรมีการตระหนักถึงการควบคุมใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มปศุสัตว์
The overuse of antibiotics in livestock is one of the sources for antimicrobial resistance (AMR). The contamination of AMR in food-producing animals might cause the transfer of antibiotic resistant genes of bacteria from animals to human. The objective of this study is to detect the contamination of Enterobacterales that produce extended-spectrum beta-lactamase (ESBL) enzyme in chicken meat sold in fresh markets and supermarket in Bang Phi district, Samut Prakan province. The organisms were isolated from chicken meat using culture media containing ceftriaxone. Detection of ESBL was performed by combination disk method and types of organisms were identified with biochemical tests. From total of chicken meat 50 samples, 96% (24/25) ESBL were detected in 25 samples from fresh markets and 44% (11/25) ESBL were found in 25 samples from supermarket. From fifty-two isolates of ESBL, 73.08% (38/52) were from fresh markets and 26.92% (14/52) were from supermarket. Most of the isolates were Escherichia coli which were 63.46% (33/52). Salmonella spp., gastrointestinal tract pathogen, was detected for 1.92% (1/52). The results from this study indicated that there were AMR contaminated in meat, therefore the control of antibiotics used in livestock should be concerned.