บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมด้านงานวิเทศสัมพันธ์ในสถานการณ์ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติกับสถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ 24 คนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ 5 คน และจากสถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ 11 แห่ง 19 คนผลการวิจัยพบว่าด้านการใช้วัจนภาษามี 3 ประเด็นคือ 1) การใช้คําศัพท์เฉพาะงานวิเทศสัมพันธ์เป็นคําศัพท์ที่ใช้ในวงการการศึกษาและเกี่ยวข้องกับงานต่างประเทศ 2) การใช้คําเรียกชื่อหรือการใช้สรรพนามควรให้ความสําคัญเรื่องตําแหน่งงานตําแหน่งทางวิชาการหรือวุฒิการศึกษา ควรเรียกตามธรรมเนียมของอีกฝ่ายเพื่อแสดงความเคารพและ 3) ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเป็นภาษาจีนกับภาษาไทยเป็นหลักและมีเอกสารบางส่วนเป็นภาษาอังกฤษด้านการใช้อวัจนภาษา 6 ประเด็นคือ 1) มารยาทการทักทายมีการแนะนําตัวตามลําดับแลกนามบัตรไหว้จับมือยิ้มและพยักหน้าเบาๆ 2) การแต่งกายควรแต่งกายสุภาพเป็นทางการ หรือสวมใส่ชุดประจําชาติ 3) การใช้สีหน้าเหมาะกับสถานการณ์ 4) การจัดที่นั่งในที่ประชุมฝ่ายไทยนิยมให้ประธานนั่งหัวโต๊ะ ฝ่ายจีนนิยมให้ประธานนั่งกลางโต๊ะและหันหน้าชนกัน 5) การใช้สัญลักษณ์ทั้งสองฝ่ายให้ความสําคัญกับการใช้ชื่อและโลโก้ประจําสถาบันในโอกาสต่าง ๆ และ 6) ของที่ระลึกมักเลือกของที่แสดงถึงความเป็นสถาบัน เมือง หรือประเทศชาติซึ่งเป็นประเด็นที่ควรให้ความสําคัญในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมด้านงานวิเทศสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน
This qualitative research aims to analyze verbal and nonverbal communication used ininternational affairs, focusing on academic cooperation, between Huachiew Chalermprakiet University (HCU), in Thailand, and higher educational institutes in People’s Republic of China. Twenty-four research samples were purposively selected, including five individuals from HCU, and nineteen individuals from eleven higher educational institutes engaged in academic cooperation with HCU. The research identifies three tactics used in verbal communication in cross-cultural contexts:1) Academic terms normally used in education industry and related to international affairs. 2) Specific terms or pronouns that emphasize job position, academic title, or qualification, and which should be used in accordance with the other party's customs to show respect and honor. 3) Languages used in cross-cultural communication primarily include Thai and Chinese, with English documents sometimes utilized. In terms of non-verbal communication, six aspects are observed: 1) Greeting manners, introductions in order, exchanging business cards, paying respects, shaking hands, smiling, and gently nodding. 2) Dress code, which should be polite and formal, including wearing national costumes when appropriate.3) Facial expressions that are suitable for the situation. 4) Conference seating arrangements, where the Thai side prefers to have the president sit at the head of the table, while the Chinese side prefers to have the president sit in the middle of the table and facing each other. 5) The use of signs, with both sides attaching importance to the use of the institution's name and logo on various occasions. 6) The selection of gifts that represent an institution, city, or nation, which should be properly considered for cross-cultural communication between Thailand and China in international affairs.