งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดข่าส่วนเหนือดิน และเหง้า ที่สกัดด้วยตัวทำละลายชนิดเอทานอล และเอทิลอะซิเตท ต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด K562 ด้วยวิธี MTT พบว่าสารสกัดข่าส่วนเหนือดินและเหง้า ที่สกัดด้วยตัวทำลายชนิดเอทิลอะซิเตท มีความเป็นพิษ (IC50) ต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด K562 (36.2 ± 4.5 และ 5.8 ± 0.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) มีความเป็นพิษ (IC50) ต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดเพาะเลี้ยงชนิด K562 ได้ดีกว่าสกัดข่าส่วนเหนือดินและเหง้า ที่สกัดด้วยตัวทำลายชนิดเอทานอล (229.1 ± 9.5 และ 69.6 ± 8.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสารสกัดข่าส่วนเหง้า ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด K562 ได้ดีกว่าสารสกัดข่าส่วนเอทานอล เท่ากับ 12 เท่า ดังนั้นจากผลการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างชัดว่าสารสกัดข่าส่วนเหง้าที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท สามารถออกฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยง K562 ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับตัวทำละลายเอทานอล
The purpose of this research was to study the cytotoxicity of the extracts of Alpinia galanga’s aboveground and rhizomes. The samples were extracted using ethanol and ethyl acetate which were then tested on the K562 cell line by the MTT method. The results showed that for both the aboveground and rhizomes, of Alpinia galanga, the ethyl acetate extract had a higher cytotoxicity (IC50) on the K562 cell line (36.2 ± 4.5 and 5.8 ± 0.5 μg/mL, respectively) than aboveground and rhizomes ethanol extraction (229.1 ± 9.5 and 69.6 ± 8.5 μg/mL, respectively) (p<0.05). Moreover, the rhizome Alpinia galanga ethyl acetate extract showed that it was 12 times more toxic on the K562 cell line than the ethanol extract. Finally, these results showed that for Alpinia galanga rhizomes ethyl acetate displayed the most effective cytotoxic effect on the K562 cell line when compare with ethanol extraction.