งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจจากสารสกัดใบกะเม็ง ใบสาบเสือ และ ใบบัวบก โดยศึกษาฤทธิ์การต้านการอักเสบด้วยวิธี Griess’s reaction และศึกษาการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจเพาะเลี้ยงชนิด RAW264.7 ด้วยวิธี NBT จากการศึกษาพบว่าสารสกัดใบสาบเสือที่ความเข้มข้น 8.7 ± 5.27 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ รองลงคือสารสกัดใบบัวบกที่ความเข้มข้น 10.9 ± 3.26 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนสารสกัดใบกะเม็งที่ความเข้มข้น 62.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจเพาะเลี้ยงชนิด RAW264.7 ได้ 25 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมการทดสอบ จากผลการศึกษานี้พบว่าสารสกัดใบสาบเสือมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบดีมากแต่ไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจเพาะเลี้ยงชนิด RAW264.7
The aim of this study was to investigate the anti-inflammation and phagocytosis activity of Eclipta prostrate Linn, Eupatorium odoratum L. and Centella asiatica extracts. The anti-inflammation was measured by Griess’s reaction as well as their phagocytosis activity on macrophage cell line (RAW264.7) measured by NBT reduction test. The results showed that the Eupatorium odoratum L. at 8.7 ± 5.27 µg/mL can reduce nitric oxide releasing by fifty percent whereas the Centella asiatica shown the concentration of 10.9 ± 3.26 µg/ mL. The Eclipta prostrate Linn extract at the concentration of 6 2 .5 µg/ mL significantly increase the phagocytosis activity of RAW264.7 cell line by 25% comparing with the vehicle control (p<0.05). In conclusion, the Eupatorium odoratum L. showed the best of anti-inflammation activity but cannot increase phagocytic activity of RAW264.7 cell line.