การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มระดับน้ำตาลและระดับคอเลสเตอรอลในเลือด รวมทั้งความชุกของภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ระหว่างปี 2550 – 2559 จํานวน 1,430 คน โดยศึกษาจากผลการตรวจเลือด และแบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Spearman rank correlation และ One-way ANOVA จากการวิจัยพบว่ามีประชากรชายมากกว่าร้อยละ 50 และประชากรหญิงเกือบร้อยละ 50 มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ โดยในปี 2559 ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2550 ส่วนระดับคอเลสเตอรอลของประชากรนั้นพบว่าเกือบร้อยละ 50 ของประชากรชายและประชากรหญิงมีระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ โดยในปี 2558 ค่าเฉลี่ยของระดับคอเลสเตอรอลลดลงร้อยละ 8 จากปี 2550 เมื่อทําการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่อปัจจัยต่าง ๆ พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของประชากรมีความสัมพันธ์กับอายุ ความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกาย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนั้นแล้วพบว่าระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของประชากรมีความสัมพันธ์กับอายุ ความดันโลหิต อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อทําการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าดัชนีมวลกายพบว่าค่าดัชนีมวลกายในประชากรมีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05)
The purpose of this study was to study blood sugar level and blood cholesterol level trends, and prevalence of metabolic syndrome in Samutprakarn population between 2007-2016. The total subject was 1,430 and questionnaire was used as a tool to collect data. The statistics used in the data analysis was Spearman rank correlation and One-way ANOVA. The study found that over 50% of males and nearly 50% of females had a higher blood sugar level than normal. We found that the blood sugar level in 2016 increases by about 10% compared to 2007. Nearly 50% of both males and females found to have a higher cholesterol level than normal. However, the cholesterol level in 2015 decreases by 8% compared to 2007. When exploring the relationship between blood sugar and blood cholesterol levels and health affecting factors, we found that blood glucose level was significantly associated with age, blood pressure, and body mass index (p<0.05). In addition, blood cholesterol was significantly correlated with blood pressure (p <0.05). Lastly, body mass index was significantly correlated with smoking (p<0.05).