Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) เป็นปญหาสําคัญทางสาธารณสุขที่พบทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อ CRE ที่มีกลไกการดื้อยาโดยการสร่างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมุทรปราการและโรงพยาบาลสระบุรี โดยเก็บตัวอย่างเชื้อ CRE จํานวน 45 สายพันธุ์ จําแนกเป็นโรงพยาบาลสระบุรีจํานวน 18 สายพันธุ์และโรงพยาบาลสมุทรปราการจํานวน 27 สายพันธุ์ ทําการตรวจหาการสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสโดยวิธีทางฟีโนไทป์ ได้แก่ modified Hodge test (MHT) และ modified carbapenem inactivation method (mCIM) และวิธีทางจีโนไทป์โดยการตรวจหายีน blaNDM-1 ด้วยเทคนิค PCR ผลการวิจัยพบว่าเป็นเชื้อ Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli และ Enterobacter cloacae ร้อยละ 75.6, 17.8 และ 6.7 ตามลําดับ ผลการตรวจหาเอนไซม์คาร์บาพีนีเมส ด้วยวิธี MHT และ mCIM ให้ผลบวกทุกสายพันธุ์ และพบความชุกของยีน blaNDM-1 ร้อยละ 68.9 (31/45) ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลทางด้านระบาดวิทยา สามารถใช้เป็นแนวทางในการควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา
Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) is a major public health problem worldwide including Thailand. This study aimed to detect carbapenemase-producing CRE isolated from patients in Samutprakan Hospital and Saraburi Hospital. A total of 45 isolates of CRE included 18 isolates from Saraburi Hospital and 27 isolates from Samutprakan Hospital. Carbapenemase activity was determined by phenotypic method (modified Hodge test (MHT) and modified carbapenem inactivation method (mCIM) and further detected for blaNDM-1 by genotypic method (PCR). All isolates were identified as Klebsiella pneumoniae (75.6%), Escherichia coli (17.8%) and Enterobacter cloacae (6.7%). All isolates had carbapenemase activity which was determined by both MHT and mCIM method. The prevalence of blaNDM-1 gene by PCR technique was 68.9% (31/45). Therefore, the result is useful information for epidemiology in order to be strategic planning for protective and should be aware of spread out of these bacteria.